กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6630
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นันทพร ภัทรพุทธ | |
dc.contributor.advisor | ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ | |
dc.contributor.author | อดุลย์ ฉายพงษ์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:12:19Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:12:19Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6630 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ว.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สภาพการปฏิบัติงาน นโยบายของหน่วยงานในการป้องกันและจัดการความรุนแรงในสถานที่ทำงาน และการสนับสนุนทางสังคม กับผลของการถูกกระทำความรุนแรงในสถานที่ทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นพยาบาลหญิง ร้อยละ 97.0 อยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 33.9 อายุเฉลี่ย 37.2 ปี ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 30.4 ปฏิบัติงานอยู่แผนกผู้ป่วยใน ร้อยละ 42.3 ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการจัดการความรุนแรง ร้อยละ 76.8 และความรุนแรงที่ได้รับส่วนใหญ่มาจากญาติผู้ป่วย ร้อยละ 85.1 ระดับความเสี่ยงของการเกิดความรุนแรงในสถานที่ทำงานจากสภาพการปฏิบัติงาน ของกลุ่มตัวอย่าง นโยบายของหน่วยงานในการป้องกันและจัดการความรุนแรงในสถานที่ทำงาน และการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.9 ร้อยละ 54.8 และร้อยละ 51.8 ตามลำดับ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ แผนก ประวัติการได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการความรุนแรง และขนาดของโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับผลของการถูกกระทำความรุนแรงต่อร่างกาย ความรู้สึกต่อเหตุการณ์ และทัศนคติ แต่พบว่า ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน แหล่งของความรุนแรงที่ได้รับจากผู้ป่วย และผู้บังคับบัญชา มีความสัมพันธ์กับผลของการถูกกระทำความรุนแรงต่อร่างกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.045) (p = 0.037) และ (p = 0.013) ตามลำดับ รวมทั้งมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่อวัน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานล่วงเวลาต่อสัปดาห์มีความสัมพันธ์กับผลของการถูกกระทำความรุนแรงต่อร่างกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p = 0.005) และ (p = 0.001) ตามลำดับระยะเวลาในการปฏิบัติงานล่วงเวลาต่อวันมีความสัมพันธ์กับผลของการถูกกระทำความรุนแรงต่อร่างกายอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p =0.046) สภาพการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับผลของการถูกกระทำความรุนแรงต่อร่างกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p = 0.001) และมีความสัมพันธ์กับผลของการถูกกระทำความรุนแรงต่อความรู้สึกต่อเหตุการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (p < 0.001) นโยบายของหน่วยงานในการป้องกันและจัดการความรุนแรงในสถานที่ทำงานและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับผลของการถูกกระทำความรุนแรงต่อความรู้สึกต่อเหตุการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p = 0.002) และ (p = 0.001) ตามลำดับ และมีความสัมพันธ์กับผลของการถูกกระทำความรุนแรงต่อทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (p < 0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้บริหารของโรงพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานควรนำไปกำหนดเป็นนโยบาย และกิจกรรมในการป้องกันและจัดการความรุนแรงในสถานที่ทำงานร่วมกันในทุกแผนกของโรงพยาบาล เพื่อลดความรุนแรงของผลของการถูกกระทำความรุนแรง โดยมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนสภาพการปฏิบัติการ การกำหนดนโยบายในการป้องกันและจัดการความรุนแรง และการให้การสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้ปฏิบัติงาน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.subject | ความรุนแรงในที่ทำงาน | |
dc.subject | พยาบาล -- มาตรการความปลอดภัย | |
dc.subject | ความรุนแรงในโรงพยาบาล | |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลของการถูกกระทำความรุนแรงในสถานที่ทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดสมุทรปราการ | |
dc.title.alternative | Fctors relted to effect of workplce violence mong nurses in primry cre hospitl, smutprkrn provinc | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was investigate relationship between working condition, organizational policies for prevention and management workplace violence, socials support and effect of workplace violence among nurses in primary care hospital. Study subjects included of 168 nurses who work in primary care hospital, Samutprakarn province. The research instruments is questionnaire. Results revealed that most of them were female (97.0%). Age were between 20-30 years (33.9), average age were 37.2 year olds, most experience of them were between 1-5 years (30.4%), mainly work in inpatient department (42.3 %) mainly never trained about management workplace violence (76.8%) and most of violence from patients (85.1%). Risk level of workplace violence from working condition, organizational policies for prevention and management workplace violence and socials support were middle level (64.9%) (54.8) and (51.8), respectively. Personal factors including gender, age, section, receive training about management violence and size of hospital did not correlate with effect of violence to physicals, effect of violence to feeling for the event, effect of violence to attitude. Experience and violence from patient and commander were significantly associated with effect of violence to physicals at 0.05 level (p = 0.045), (p = 0.037) and (p = 0.013), respectively. Moreover time to work per day and overtime per week were significantly associated with effect of violence to physicals at 0.01 level (p = 0.005) and (p = 0.001), respectively. Overtime per day was significantly associated with effect of violence to physicals at 0.05 level (p = 0.046) Working condition was significantly associated with effect of violence to physicals at 0.01 level (p = 0.001) and significantly associated with effect of of violence to feeling for the event at 0.001 level (p < 0.001). Organizational policies for prevent and manage workplace violence and social supports were significantly associated with effect of violence to feeling for the event at 0.01 level (p = 0.002) and (p = 0.001), respectively and were significantly associated with effect of violence to attitude at 0.001 level (p < 0.001). From the obtained results hospital administrator and healthcare workers should be determine policies and systems for prevention and management workplace violence together for reduce level effect of violence, with focus on working conditions improvement, determine policies for prevention and management workplace violence and socials support. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | สาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น