กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6628
ชื่อเรื่อง: | การปรับปรุงสภาพงานโดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเสี่ยงบริเวณหลังส่วนล่างในพนักงานแผนกลอกยางของโรงงานยางพาราแผ่นรมควันแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Working condition improvement through prticiptory ergonmics pproch for reducing low bck risk mong rubber sheet peeling workers in rubber smoking fctory, chnthburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปวีณา มีประดิษฐ์ ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข รัฐวุฒิ สมบูรณ์ธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เออร์โกโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานลอกยางเป็นงานที่มีความเสี่ยงด้านการยศาสตร์สูง เพราะจะต้องยืนทำงาน มีการ ก้ม เงย เอี้ยวตัว บิดข้อมือขณะเกี่ยวยาง ยกแผ่นยาง ใช้แรงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโดยเฉพาะบริเวณหลังส่วนล่าง การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดความเสี่ยงที่หลังส่วนล่างโดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม ในพนักงานแผนกลอกยางโรงงานยางพาราแผ่นรมควัน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเงื่อนไขที่กำหนด จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมิน Rapid Entire Body Assessment (REBA) แบบประเมินความรู้สึกปวดหลังส่วนล่าง และเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงสภาพงานลอกยางที่สามารถดำเนินการได้โดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การสลับยางเหนียวมากกับเหนียวน้อยในการลอก นำยางที่ลอกจนถึงระดับเข่ามาวางซ้อนทับกันแล้วค่อยนำไปลอกในวันถัดไป การตัดผ่าครึ่งยางที่เหนียวมากตามแนวขวาง การจับคู่กันลอกยางในยางที่มีความเหนียวมาก การเพิ่มความยาวและปรับด้ามจับตะขอเกี่ยวยางให้กระชับ และการปรับการวางพาเลตมาอยู่ด้านข้างพนักงาน ความเสี่ยงหลังส่วนล่างจากการประเมินด้วย REBA และความรู้สึกปวดหลังส่วนล่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000 และ .034 ตามลำดับ) ค่าร้อยละภาระงานของกล้ามเนื้อ Latissimus dorsi ด้านขวา และ Erector spinae ด้านซ้าย ในขณะทำงานเทียบกับขณะหดตัวสูงสุดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < .05) งานศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานให้โรงงานแปรรูปยางแผ่นรมควันแห่งอื่น ๆ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะปัญหาใกล้เคียง ได้นำรูปแบบไปใช้ในการปรับปรุงสภาพงานเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6628 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น