กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6628
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปวีณา มีประดิษฐ์
dc.contributor.advisorทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.authorรัฐวุฒิ สมบูรณ์ธรรม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:12:18Z
dc.date.available2023-05-12T03:12:18Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6628
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractงานลอกยางเป็นงานที่มีความเสี่ยงด้านการยศาสตร์สูง เพราะจะต้องยืนทำงาน มีการ ก้ม เงย เอี้ยวตัว บิดข้อมือขณะเกี่ยวยาง ยกแผ่นยาง ใช้แรงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโดยเฉพาะบริเวณหลังส่วนล่าง การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดความเสี่ยงที่หลังส่วนล่างโดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม ในพนักงานแผนกลอกยางโรงงานยางพาราแผ่นรมควัน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเงื่อนไขที่กำหนด จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมิน Rapid Entire Body Assessment (REBA) แบบประเมินความรู้สึกปวดหลังส่วนล่าง และเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงสภาพงานลอกยางที่สามารถดำเนินการได้โดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การสลับยางเหนียวมากกับเหนียวน้อยในการลอก นำยางที่ลอกจนถึงระดับเข่ามาวางซ้อนทับกันแล้วค่อยนำไปลอกในวันถัดไป การตัดผ่าครึ่งยางที่เหนียวมากตามแนวขวาง การจับคู่กันลอกยางในยางที่มีความเหนียวมาก การเพิ่มความยาวและปรับด้ามจับตะขอเกี่ยวยางให้กระชับ และการปรับการวางพาเลตมาอยู่ด้านข้างพนักงาน ความเสี่ยงหลังส่วนล่างจากการประเมินด้วย REBA และความรู้สึกปวดหลังส่วนล่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .000 และ .034 ตามลำดับ) ค่าร้อยละภาระงานของกล้ามเนื้อ Latissimus dorsi ด้านขวา และ Erector spinae ด้านซ้าย ในขณะทำงานเทียบกับขณะหดตัวสูงสุดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < .05) งานศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานให้โรงงานแปรรูปยางแผ่นรมควันแห่งอื่น ๆ หรือสถานประกอบการที่มีลักษณะปัญหาใกล้เคียง ได้นำรูปแบบไปใช้ในการปรับปรุงสภาพงานเพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectเออร์โกโนมิกส์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ
dc.titleการปรับปรุงสภาพงานโดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเสี่ยงบริเวณหลังส่วนล่างในพนักงานแผนกลอกยางของโรงงานยางพาราแผ่นรมควันแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี
dc.title.alternativeWorking condition improvement through prticiptory ergonmics pproch for reducing low bck risk mong rubber sheet peeling workers in rubber smoking fctory, chnthburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe rubber sheet peeling task had a high risk of ergonomic hazard due to long standing, bending, twisting, and prolong exertion. The objective of this quasi experimental research was to reduce lower back risk by using participatory ergonomics among the rubber peeling workers in a rubber factory. The 26 subjects were selected based on the inclusion criteria. The data were collected by Rapid Entire Body Assessment (REBA), a lower back pain questionnaire, and electromyography (EMG). The results revealed that the work improvement could be implemented by participatory ergonomics which included rearrangement on the rubber sheet based on the stickyness, adjustment of the rubber sheet stacking height, cutting of the sticky rubber sheet laterally, working in pairs, increasing the length and adjusting the hook handle and moving the pallet to the lateral side of the workers. The lower back risk assessed by REBA, and the pain score decreased significantly (p = .000 and.034 respectively). The average myeoelectric activity (Expressed as %MVC) of the right latissimus dorsi and the left erector spinae decreased significantly (p < .05). This study is the basis for other processed rubber sheets or establishments with similar problematic characteristics The format is used to improve work conditions to reduce the risk of ergonomics.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการสร้างเสริมสุขภาพ
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น