กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6627
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของผู้เพาะเห็ดในจังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting respirtory symptoms mong mushroom workers in ching ri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รจฤดี โชติกาวินทร
พรทิพย์ เย็นใจ
ปัทมาพร บัวแดง
มหาวิทยาลัยบูรพาคณะสาธารณสุขศาสตร์.
คำสำคัญ: ทางเดินหายใจ
ทางเดินหายใจ -- โรค -- การป้องกันและควบคุม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของผู้เพาะเห็ด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เพาะเห็ดในจังหวัดเชียงราย จำนวน 350 คน ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นเขตพื้นที่และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ เก็บตัวอย่างเชื้อราในโรงเพาะเห็ดด้วยเครื่อง Single stage impactor และทำการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.6 มีอายุเฉลี่ย 47.76 ปี (SD = 12.95) มีประวัติการสูบบุหรี่ ร้อยละ 14.9 ระยะเวลาที่สูบบุหรี่เฉลี่ย 21.4 ปี (SD = 10.39) สูบหรี่เฉลี่ยวันละ 9.65 มวน (SD = 6.14) มีประวัติเป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 7.1 และเคยทำงานที่เสี่ยงต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 6.3 มีอาชีพเพาะเห็ดเป็นอาชีพประจำ ร้อยละ 43.7 มีลักษณะการทำงานในโรงเพาะเห็ด ร้อยละ75.5 ทำงานในโรงเพาะเห็ดเฉลี่ยวันละ 4.17 ชั่วโมง (SD = 2.15) มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 53.4 จากการวิเคราะห์ปริมาณเชื้อราในอากาศ พบว่า มีค่าเฉลี่ย (GM ± GSD)เท่ากับ 853.43 ± 1.73 CFU/m3 ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณก้อนเชื้อเห็ดในฟาร์ม เท่ากับ 31,677.43 ก้อนต่อฟาร์ม (SD = 35,188.27) โครงสร้างของโรงเพาะเห็ดทำจากไม้ หลังคาทำจากหญ้าคาและผนังโรงเรือนทำจากตาข่าย โรงเรือนมักจะเป็นพื้นดิน ค่าเฉลี่ยขนาดของโรงเพาะเห็ด เท่ากับ 138.74 m3 (SD = 49.14) อุณหภูมิในโรงเพาะเห็ดเฉลี่ยรวม เท่ากับ 33.23 °C (SD = 4.13) ความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเพาะเห็ดมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 51.15 % (SD = 12.46) ความเร็วลมในโรงเพาะเห็ด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 0.04 m/s (SD = 0.04) และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1,237.39 ppm (SD = 974.00) จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ พบว่า อายุของผู้เพาะเห็ดช่วงอายุ 31-60 ปี มีค่า OR (95 % CI) เท่ากับ 3.289 (1.344, 8.047) ปริมาณเชื้อราในโรงเพาะเห็ดช่วง 2,001-4,000 CFU/m3 มีค่า OR (95 % CI) เท่ากับ 15.197 (1.549, 149.087) และอุณหภูมิในโรงเพาะเห็ดช่วง มากกว่า 35 °C มีค่า OR (95 % CI) เท่ากับ 1.736 (1.088, 2.990) ในส่วนปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจส่วนบน พบว่า อายุของผู้เพาะเห็ดช่วงอายุ 31-60 ปี มีค่า OR (95% CI) เท่ากับ 3.124 (1.311, 7.883) และปริมาณเชื้อราในโรงเพาะเห็ดช่วง 2,001-4,000 CFU/m3 มีค่า OR (95 % CI) เท่ากับ 15.030 (1.531, 147.524) และผลการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่ออาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง พบว่า ผู้เพาะเห็ดมีประวัติสุขภาพเคยเป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจ มีค่า OR (95 % CI) เท่ากับ 6.700 (1.043, 43.043) จากผลการศึกษาจึงควรมีการเฝ้าระวังทั้งสภาพแวดล้อมการทำงานและสุขภาพของผู้เพาะเห็ดเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ มากกว่า 30 ปีขึ้นไป และผู้ที่เคยมีประวัติเจ็บป่วยของระบบทางเดินหายใจ รวมถึงการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสเชื้อราในบรรยากาศการทำงานการ เช่น การส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจอย่างถูกต้องและเหมาะสม ควรมีการระบายอากาศในโรงเพาะเห็ดทุกครั้งก่อนการทำงาน และหลีกเลี่ยงการทำงานในช่วงอุณหภูมิที่สูงของวัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6627
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น