กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6621
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมถวิล จริตควร
dc.contributor.authorนงลักษณ์ สำราญราษฎร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:12:17Z
dc.date.available2023-05-12T03:12:17Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6621
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractศึกษาผลของการเสริมแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ในอาหารปลาการ์ตูนแดงเพื่อให้ได้ผิวหนัง มีสีแดงตามที่ต้องการของตลาด แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลองย่อย โดยการทดลองที่ 1 วางแผนการทดลองแบบ 6×3 Factorial in CRD เพื่อศึกษา 2 ปัจจัย โดยปัจจัยที่ 1 คือ ชนิดของ แคโรทีนอยด์สังเคราะห์ (เบต้าแคโรทีน แคนทาแซนทิน แอสตาแซนทิน ลูทีน และซีแซนทิน) และอาหารไม่เสริมแคโรทีนอยด์เป็นสูตรควบคุม และปัจจัยที่ 2 คือ ระยะเวลาในการเสริม (1, 2 และ 3 เดือน) เลี้ยงปลาด้วยอาหารเสริมแคโรทีนอยด์แต่ละชนิดที่ความเข้มข้น 100 พีพีเอ็ม ชนิดละ 3 ซ้ำ แบบให้กินจนอิ่มวันละ 3 ครั้ง พบว่าชนิดแคโรทีนอยด์ไม่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต อัตรารอด และอัตราแลกเนื้อ (p>0.05) การเสริมแอสตาแซนทินทำให้ผิวหนังปลามีค่าเฉดสีแดง และปริมาณ แอสตาแซนทินที่สะสมในผิวหนังปลาสูงกว่าการเสริมด้วยแคโรทีนอยด์ชนิดอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) ขณะที่ระยะเวลาในการเสริมที่นานขึ้นทำให้อัตราการเจริญเติบโต อัตรารอดลดลง และอัตราแลกเนื้อสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเสริมเป็นระยะเวลา 2 และ 3 เดือน ทำให้ผิวหนังปลามีค่าเฉดสีแดง (a*) และปริมาณแอสตาแซนทินที่สะสมในผิวหนังปลาไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่มีค่าสูงกว่าการเสริมเป็นระยะเวลา 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเสริมด้วยแคโรทีนอยด์แต่ละชนิดทำให้ผิวหนังปลาสะสมแคโรทีนนอยด์ชนิดนั้น ๆ ในปริมาณสูงสุด และทำให้ผิวหนังปลามีค่าเฉดสีแดงน้อยกว่าการเสริมด้วยแอสตาแซนทิน การทดลองที่ 2 วางแผนการทดลองแบบ 6x3x6 Factorial in CRD เพื่อศึกษา 3 ปัจจัย โดยปัจจัยที่ 1 คือ ความเข้มข้นของแอสตาแซนทินที่เสริม (25, 50, 100, 150 และ 200 พีพีเอ็ม และไม่เสริมแอสตาแซนทิน เป็นชุดควบคุม) ปัจจัยที่ 2 คือ ระยะเวลาการเสริม (2, 4, 6, 8, 10 และ 12 สัปดาห์) และปัจจัยที่ 3 คือ ตำแหน่งการวัดสี (บริเวณหัว ลำตัวเหนือครีบอก และลำตัวใต้ครีบหลัง) เลี้ยงปลาด้วยอาหารแต่ละสูตร ๆ ละ 3 ซ้ำ แบบให้กินจนอิ่มวันละ 2 ครั้ง พบว่า การเสริมแอสตาแซนทินความเข้มข้น 100, 150 และ 200 พีพีเอ็ม ทำให้ผิวหนังของปลามีค่าเฉดสีแดงไม่แตกต่างกัน (p>0.05) แต่มีค่าสูงกว่าการเสริมแอสตาแซนทินความเข้มข้นอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การเสริมเป็นระยะเวลา 8, 10 และ 12 สัปดาห์ ทำให้ผิวหนังของปลามีค่าเฉดสีแดงไม่แตกต่างกัน (p<0.05) แต่มีค่ามากกว่าบริเวณหัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<0.05) จากการศึกษาสรุปได้ว่าแอสตาแซนทินสังเคราะห์เป็นสารสีที่เหมาะสมสำหรับการเสริมในอาหาร ปลาการ์ตูนแดง โดยความเข้มข้นที่เหมาะสมคือ 100 พีพีเอ็ม และเสริมเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectปลาการ์ตูนแดง -- การเจริญเติบโต
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวาริชศาสตร์
dc.titleผลของแคโรทีนอยด์สังเคราะห์ต่อการเพิ่มสีในปลาการ์ตูนแดง (Premnas biaculeatus Bloch, 1790)
dc.title.alternativeEffect of synthetic crotenoid on the pigmenttion of spine-cheek nemonefish (premns biculetus bloch, 1790)
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeEffect of dietary supplementation with synthetic carotenoid for Spine-cheek anemonefish had been carried out for the marketable desired red skin. There were two subexperiments in which the first experiment was conducted with 6x3 factorial experiment in CRD to determine two factors. First factor was 5 synthetic carotenoid types (betacarotene, canthaxanthin, astaxanthin, lutein and zeaxanthin) and a non-carotenoid supplemented as a control. Second factor was supplementation time (1, 2 and 3 months). Fish were fed to each diet at a level of 100 ppm feed twice a day (ad libitum) with 3 replicates. The results showed no significantly different between carotenoid type and growth rate, survival rate and feed conversion ratio (p>0.05). Fish fed on astaxanthin supplemented diet showed significantly higher in redness and astaxanthin content infish skin than that of the rest (p<0.05), Meanwhile, longer supplementation time were significant differences in lower growth rate, survival rate, and feed conversion ratio (p<0.05). Nosignificant differences of redness and the accumulated astaxanthin contents of fish skin were observed between 2 and 3 months of supplementation (p<0.05), but showed higher significantly differences than that of 1 month (p<0.05). The more supplemented specific carotenoids type of feed, the more accumulation of that carotenoid type in fish skin. The highest redness fish skin found in fish fed on feed supplemented with astaxanthin. Second experiment was conducted with 6x3x6 factorial experiment in CRD to determine three factors. First factor was astaxanthin at a concentration of 25, 50, 100, 150 and 200 ppm feed and without astaxanthin as a control. Second factor was supplementation time (2, 4, 6, 8 and 12 weeks), and third factor was the position of color measuring (head, body above pectoral fin and body under dorsal fin). Fish were fed to each diet twice a day (ad libitum) with 3 replicates. The results showed no significantly differentof skin redness among dietary supplemented astaxanthin at a concentration of 100, 150 and 200 ppm feed (p>0.05), but showed significant higher than that of other feeds (p<0.05). There were no significant differences of skin redness among supplementation times at 8, 10 and 12 weeks (p>0.05), but showed significantly higher than the rest (p<0.05). There were no significant differences of skin redness among supplementation times at 8, 10 and 12 weeks (p>0.05), but showed significantly higher than the rest (p<0.05). No significant difference of redness were found between body above pectoral fin and body under dorsal fin (p>0.05), but showed significantly higher than that of the head (p<0.05). It could be included that synthetic astaxanthin was the optimum pigment for supplementing in Spine-cheek anemonefishfeed at a concentration of 100 ppm and rearing for at least 8 weeks.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวาริชศาสตร์
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น