กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6612
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุทิน กิ่งทอง
dc.contributor.authorรัตนชาติ คิ้วสกุลกาญจน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:12:14Z
dc.date.available2023-05-12T03:12:14Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6612
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ในระยะเริ่มต้นของหอยนางรมปากจีบ (Saccostrea cucullata) โดยใช้หอยนางรมตัวเต็มวัยที่เก็บจากพื้นที่เพาะเลี้ยง นำมาเตรียมตัวอย่างเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ แล้วศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน ผลการศึกษาพบว่า อวัยวะสืบพันธุ์ของหอยนางรมปากจีบ จะแทรกอยู่ภายในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณระหว่างเนื้อเยื่อชั้นแมนเทิลกับต่อมสร้างน้ำย่อยอวัยวะสืบพันธุ์ประกอบด้วยท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ซึ่งมีเซลล์ vesicular connective tissue (VCT) อยู่ล้อมรอบ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้จะเริ่มจากที่บริเวณผนังท่อไปสู่ลูเมน โดยภายในท่อพบเซลล์สืบพันธุ์ระยะต่าง ๆ ได้แก่ สเปอร์มาโทโกเนียมชนิดที่หนึ่ง สเปอร์มาโทโกเนียมชนิดที่สอง สเปอร์มาโทไซต์ระยะแรก สเปอร์มาโทไซต์ระยะที่สอง สเปอร์มาทิด และสเปอร์มาโทซัว นอกจากนี้ยังพบเซลล์ค้ำจุนที่อยู่ภายในท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (intragonadal somatic cells; ISCs) แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เซลล์ค้ำจุนที่อยู่ภายในท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ชนิดที่หนึ่ง (intragonadal somatic cell type I; ISC type I) และเซลล์ค้ำจุนที่อยู่ภายในท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ชนิดที่สอง (intragonadal somatic cell type II; ISC type II) ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายหน้าที่ของเซลล์ดังกล่าวได้อย่างชัดเจน โดยการรายงานก่อนหน้านี้และงานวิจัยครั้งนี้คาดว่าเซลล์ ISC type I ทำหน้าที่คล้ายกับเซลล์เซอโทไลของสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยช่วยกำจัดส่วนที่เหลือจากการสร้างเซลล์สืบพันธุ์และเซลล์สืบพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนเซลล์ ISC type II ทำหน้าที่คล้ายกับเซลล์สะสมอาหารที่อยู่ภายในท่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เนื่องจากพบว่ามีแกรนูลคล้ายกับเม็ดไกลโคเจนกระจายอยู่ในไซโทพลาซึมของเซลล์
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectหอยนางรมปากจีบ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา
dc.subjectหอยนางรมปากจีบ -- การปรับปรุงพันธุ์
dc.titleการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ในระยะเริ่มต้นของหอยนางรมปากจีบ Saccostrea cucullata (Born, 1778)
dc.title.alternativeErly stges of spermtogenesis in the hooded oyster, sccostre cucullt (born, 1778)
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeIn this work, early stages of spermatogenesis in the Hooded oyster Saccostrea cucullata was investigated. Adult oysters were collected from oyster farming area for preparing gonadal tissues for observing under both light microscope (LM) and transmission electron microscope (TEM). The results showed that the gonad was distributed in connective tissue which located between digestive glands and mantle. The gonad was composed of gonadal tubules which covered by vesicular connective tissue cells (VCT). Spermatogenesis occurred within the gonadal tubules where different stages of germ cells and intragonadal somatic cells (ISCs) were observed. Two typesof spermatogonia (spg type I and spg type II) were found at the gonadal tubule walls. Primary and secondary spermatocytes, spermatid and spermatozoa were found toward the lumen, respectively. Specific characteristics of each germ cell will be discussed. Additionally, two types of intragonadal somatic cells were also found within the gonadal tubules. These included ISC type I and ISC type II. The roles of these cells in oyster are not clearly understood. Current evidences and previously reports indicate that ISC type I may play an important role as Sertoli cell in vertebrates which nourish developing sperm cell and consume the residual cytoplasm of developing sperm. For ISC type II, this cell may play a role as a food storage cell within gonadal tubules because plenty of glycogen-like granules were found in its cytoplasm
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineชีววิทยาศึกษา
dc.degree.nameววิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น