กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6610
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปิยะทิพย์ ประดุจพรม
dc.contributor.authorสุธาทิพย์ ตรีสิน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T03:12:14Z
dc.date.available2023-05-12T03:12:14Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6610
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบระดับชาติ (NT) และตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบทดสอบระดับชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผลด้วยวิธี HGLM วิธี MIMIC และวิธี IRT-LR การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบระดับชาติทั้ง 3 ด้าน 2) ตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบทดสอบระดับชาติ ด้วยวิธี HGLM วิธี MIMIC และวิธี IRT-LR และ 3) เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีการตรวจสอบ 3 วิธีข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิ จากผลการตอบแบบทดสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 9,600 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) แบบทดสอบระดับชาติชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าความยากของข้อสอบ (b) อยู่ในระดับค่อนข้างยาก มีค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (a) อยู่ในระดับที่สามารถจำแนกผู้สอบได้ดี และมีค่าโอกาสในการเดาของข้อสอบ (c) ไม่เกิน 0.3 2) การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบทั้ง 3 ด้าน ชี้ให้เห็นว่า เพศส่งผลให้เกิดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ โดยเพศหญิงจะได้เปรียบในการตอบข้อสอบด้านภาษา และด้านเหตุผล ในขณะที่เพศชายจะได้เปรียบในการตอบข้อสอบด้านคำนวณ โดยวิธี HGLM ตรวจพบข้อสอบทำหน้าที่ต่างกัน จำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 69 ของข้อสอบทั้งฉบับ รองลงมาคือ วิธี IRT-LR ร้อยละ 54 และวิธี MIMIC ร้อยละ 16 ตามลำดับ 3) การเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ พบว่า วิธี HGLM ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธี MIMIC ในด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 70, 36 และ 53 ตามลำดับ และวิธี HGLMตรวจพบ DIF มากกว่าวิธี IRT-LR ด้านภาษา และด้านคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 37 และ 13 และวิธี IRT-LR ตรวจพบ DIF มากกว่าวิธี MIMIC ทั้ง 3 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 33, 43 และ 40 ตามลำดับ ส่วนวิธี HGLM ตรวจพบ DIF น้อยกว่า วิธี IRT-LR ด้านคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 7 (p < .05)
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแบบทดสอบ -- การประเมิน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subjectแบบทดสอบ
dc.titleการเปรียบเทียบผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในแบบทดสอบระดับชาติด้านภาษา ด้านคำนวณ และด้านเหตุผลชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธี HGLM วิธี MIMIC และวิธี IRT-LR
dc.title.alternativeA comprison of differentil item functioning detection in ntionl tests of litercy, numercy nd resoning bilities t the grde three level using hglm, mimic nd irt-lr methods
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to analyze the quality of national tests (NT) and to investigate the possibility of differential item functioning (DIF) in three subjects: Literacy, Numeracy, and Reasoning by using HGLM, MIMIC, and IRT-LR methods. The research methods were divided into three phases: 1) Analyzing the quality of NT exam item for three subjects; 2) Testing DIF detection of the items in NT using HGLM, MIMIC, and IRT-LR methods; 3) Comparing the results of DIF three methods using secondary data from NT examination of 9,600 Grade three students academic year 2013. Results were as follows: 1. The national tests had IRT difficulty parameter values at relatively difficult levels, discrimination parameter values capable of differentiating examiners at a good level, and guessing parameters not exceeding 0.30. 2. The examination of possible DIF in the three subjects revealed that gender affected the test scores; female students had an advantage when answering the Literacy, and Reasoning subjects, while male students had an advantage in the Numeracy subject. In addition, the HGLM method indicated that the three most common DIF tests could account for 69% of the test, followed by the IRT-LR at 54% and MIMIC at 16%, respectively. 3. Comparison of the DIF test results revealed that the HGLM method outperformed the MIMIC method in terms of DIF detection, namely 70% for Literacy, 36% for Numeracy, and 53% for Reasoning subjects. The HGLM method also outperformed the IRT-LR method in terms of DIF detection, namely 37% for Literacy and 13% for Numeracy subjects. The IRT-LR method outperformed the MIMIC method in terms of DIF detection, namely 33% for Literacy, 43% for Numeracy, and 40% for Reasoning subjects. Also, the HGLM method outperformed the IRT-LR method in terms of DIF detection for only Numeracy subjects (7%) (p < .05).
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น