กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6608
ชื่อเรื่อง: | โครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอนในหนองหารจังหวัดสกลนคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Plnkton community structure in nong hn, skon nkhon province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิชญา กันบัว ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา นิศาชล ฤาแก้วมา วิสิทธิ์ฎา อึ้งเจริญสุกาน มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | แพลงก์ตอน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวาริชศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | จากการศึกษาโครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอนในหนองหาร จังหวัดสกลนคร ทั้งหมด 5 ครั้งในเดือนมิถุนายน เดือนกันยายน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เดือนเมษายน และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 จำนวนทั้งสิ้น 8 สถานี ทำการเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนด้วยการตักน้ำกรองผ่านถุงกรองแพลงก์ตอนขนาดช่องตา 20 ไมโครเมตร พร้อมทั้งทำการตรวจวัดพารามิเตอร์คุณภาพน้ำ พบ แพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 65 สกุล 3 ดิวิชั่น ได้แก่ ดิวิชั่น Chlorophyta (สาหร่ายสีเขียว) 42 สกุล ดิวิชั่น Chromophyta (สาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง) 12 สกุล และดิวิชั่น Cyanophyta (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) 11 สกุล โดยพบสาหร่ายสีเขียวเป็นกลุ่มเด่น ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชรวมเฉลี่ย 4,726 เซลล์ต่อลิตร ค่าดัชนีความมากชนิดของแพลงก์ตอนพืช มีค่าอยู่ในช่วง 1.62 ถึง 5.57 ค่าดัชนีความสม่ำเสมอมีค่าอยู่ในช่วง 0.32 ถึง 0.87 และค่าดัชนีความความหลากหลายมีค่าอยู่ ในช่วง 1.15 ถึง 3.16 แพลงก์อนสัตว์พบทั้งหมด 3 ไฟลัม ได้แก่ ไฟลัม Rotifera (โรติเฟอร์) ไฟลัม Arthropoda (ตัวอ่อนของสัตว์น้ำ โคพีพอด และไรน้ำจืด) และไฟลัม Protozoa (โปรโตซัว) โดยพบโปรโตซัวเป็นกลุ่มเด่น ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์รวมเฉลี่ย 819 ตัวต่อลิตร เมื่อวิเคราะห์การจัดกลุ่มด้วยวิธี Principal Component Analysis (PCA) นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม แต่สามารถอธิบายได้ว่า โดยรวมโครงสร้างของแพลงก์ตอนในหนองหาร จังหวัดสกลนครส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกันทั้งในแต่ละสถานีและช่วงเวลาที่ทำการศึกษาและพบ มีความแตกต่างบางช่วงเวลา ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์คุณภาพน้ำบางประการ ได้แก่ ออร์โธฟอสเฟต ปริมาณตะกอนแขวนลอยในน้ำปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำความเป็นกรด-ด่าง การนำไฟฟ้า และความเป็นด่าง ที่ส่งผลต่อโครงสร้างประชาคมแพลงก์ตอนในหนองหาร จังหวัดสกลนคร คุณภาพน้ำส่วนใหญ่จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับสัตว์น้ำ และเมื่อพิจารณาร่วมกับโครงสร้างของสายใยอาหารในหนองหาร พบว่าระบบนิเวศภายในหนองหารนั้นมีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากพบความหลากหลายของแพลงก์ตอนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในสายใยอาหาร อีกทั้งยังพบว่า แพลงก์ตอนขนาดเล็กมีบทบาทและความสำคัญในสายใยอาหารเช่นเดียวกับแพลงก์ตอนขนาดใหญ่ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6608 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น