กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6597
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการกลุ่มโดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านบนเว็บ เรื่อง พันธุศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of scientific nlyticl thinking nd group process by using flipped clssroom techniques on web site bout genetics of 10th grde students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ ชนวัฒน์ ตันติวรานุรักษ์ กุลธิดา ขันสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ห้องเรียน -- การจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา ห้องเรียนกลับด้าน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และ กระบวนการกลุ่ม เรื่อง พันธุศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้านบนเว็บ และเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการกลุ่ม เรื่องพันธุศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านบนเว็บกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2559 จํานวน 2 ห้องเรียน 48 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านบนเว็บ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินวัดกระบวนการกลุ่มสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. การคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบ ห้องเรียนกลับด้านบนเว็บ หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 2. กระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับ ด้านหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 3. การคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านมีค่าสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ .05 4. กระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านบนเว็บมีค่าสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6597 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น