กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6589
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของเฮอร์วิคซ์และมีการควบคุมการใช้ข้อสอบสำหรับการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of the next item selection procedure using hurwicz criterion with the item exposure control for computerized dptive testing |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสรี ชัดแช้ม ปิยะทิพย์ ประดุจพรม ประพล เปรมทองสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | ข้อสอบ -- การตัดสินใจ ข้อสอบ -- การออกแบบและการสร้าง มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา ข้อสอบ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของเฮอร์วิคซ์และมีการควบคุมการใช้ข้อสอบ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการคัดเลือก ข้อสอบข้อถัดไป 4 วิธี คือ 2.1) วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้ค่าสารสนเทศสูงสุด (วิธีการ MIC) 2.2) วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้ทฤษฎีการตัดสินใจในสภาวการณ์ความเสี่ยง (วิธีการ RDM) 2.3) วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของเฮอร์วิคซ์ (วิธีการ HC) และ 2.4) วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของเฮอร์วิคซ์และมีการควบคุมการใช้ข้อสอบ (วิธีการ HC-Ex) โดยเปรียบเทียบในด้านการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบ ด้านความยาวของแบบทดสอบ และด้านจํานวนข้อสอบที่มีอัตราการใช้ข้อสอบมากกว่า 0.2 3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของ เฮอร์วิคซ์และมีการควบคุมการใช้ข้อสอบ และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าประมาณ ความสามารถของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์กับคะแนนรวมของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559 จํานวน 30 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า วิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปและมีการควบคุมการใช้ข้อสอบที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพด้านการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบและลดความยาวของแบบทดสอบได้ โดยพิจารณาจากค่าความลําเอียงเฉลี่ย ปรากฏว่า วิธีการ RDM วิธีการ HC และวิธีการ HC-Ex มีประสิทธิภาพสูงสุดเทียบเท่ากัน เมื่อเปรียบเทียบด้านความยาวของแบบทดสอบ ปรากฏว่า วิธีการ HC มีประสิทธิภาพสูงสุดเทียบเท่ากับวิธีการ RDM และเมื่อเปรียบเทียบ ด้านจํานวนข้อสอบที่มีอัตราการใช้ข้อสอบมากกว่า 0.2 ปรากฏว่า วิธีการ MIC มีประสิทธิภาพสูงสุด และโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น (วิธีการ HC-Ex) มีความเหมาะสมในการใช้งานระดับมากถึงมากที่สุดในด้านความสะดวกในการใช้โปรแกรม ความถูกต้องลักษณะทั่วไปของโปรแกรม และความชัดเจนของคู่มือ และค่าประมาณความสามารถของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น (วิธีการ HC-Ex) กับ คะแนนรวมของผู้สอบที่ได้จากการทดสอบด้วยคอมพิวเตอร์ปรากฏว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวก (p < .01) |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6589 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 6.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น