กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6540
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของชาวไทยมุสลิม อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors predicting nutritionl helth-promotion behvior of thi muslim in bngnmprio district, chchoengso province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณรัตน์ ลาวัง สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ อชิรญาณ์ มาตเจือ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การส่งเสริมสุขภาพ สุขภาพและอนามัย มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลปฎิบัติชุมชน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ เป็นแนวทางที่จะนําไปสู่การพัฒนาภาวะสุขภาพทุกกลุ่มคน การวิจัยนี้เป็นแบบความสัมพันธ์เชิงทํานาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทํานายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของชาวไทยมุสลิม กลุ่มตัวอย่าง เป็นชาวไทยมุสลิมที่อาศัยในเขตอําเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 280 คน ซึ่งได้มาจากสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามครอบคลุมเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้อิทธิพลระหว่างบุคคล และการรับรู้อิทธิพลจากสถานการณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 20-70 ปี เฉลี่ย 44.67 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.8 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ไม่มีโรคประจําตัว และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพทางกายใน ระดับดีกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโภชนาการในภาพรวม พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ด้านความหลากหลายของอาหารและจํานวนมื้อ และด้านอาหารที่ ควรรับประทานอยู่ในระดับสูง ในขณะที่พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่า ตัวแปรการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ (β = .239, p< .001) การรับรู้อิทธิพลระหว่างบุคคล (β = .226, p< .001) และการรับรู้อุปสรรคของ การปฏิบัติ(β = -.186, p< .001) เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของชาวไทยมุสลิมได้ร้อยละ 26.8 จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรด้านสุขภาพ ควรให้ความสําคัญกับการพัฒนาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของชาวไทยมุสลิม ให้มากขึ้น โดยส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติพฤติกรรม ลดการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ พฤติกรรม และเพิ่มการสนับสนุนให้ครอบครัว เพื่อน ชุมชนมุสลิมร่วมให้ข้อมูลข่าวสาร ชมเชย และเป็นต้นแบบที่ดีในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพต่อไป |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6540 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น