กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6533
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดด้วยงานศิลปะต่อความผาสุกของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of group rt therpeutic progrm on well-being in older dults with type 2 dibetes
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนัดดา แนบเกษร
จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
กนกวรรณ กาญจนนิกร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: เบาหวาน -- การรักษา
เบาหวานในผู้สูงอายุ
การรักษาโรค
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อน รุนแรงต่าง ๆ และเน้นการดูแลด้านจิตสังคมเพื่อเพิ่มความผาสุกในชีวิต การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มบําบัดด้วยงานศิลปะต่อความผาสุกของผู้สูงอายุ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีช่วงอายุระหว่าง 60-79 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลในเขตพื้นที่อําเภอท่าตะเกียบ โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนด จํานวน 24 คน ทําการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มบําบัดที่สร้างขึ้นโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎี การพยาบาลการดูแลมนุษย์ของวัตสัน แนวคิดความผาสุกของดูพายและขั้นตอนการทําศิลปะบําบัด ของ เลิศศิริร์ บวรกิตติ กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มบําบัดด้วยงานศิลปะโดยมีกิจกรรมกลุ่ม จํานวน 6 ครั้ง ๆ ละ 60-90 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้วัดผลลัพธ์ของการเข้าร่วมโปรแกรม คือ แบบประเมินความผาสุกโดยทั่วไปของดูพาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน สองทางแบบวัดซ้ำและทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน มีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่ในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน ไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรนําโปรแกรมกลุ่มบําบัดด้วยงานศิลปะไปใช้เป็นแนวทางเพื่อเพิ่มความผาสุกให้กับผู้สูงอายุ ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6533
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น