กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6523
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.advisorอารีรัตน์ ขำอยู่
dc.contributor.authorบุญช่วย ศิลาหม่อม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:42Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:42Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6523
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractปัญหาการคงอยู่ในงานของวิชาชีพพยาบาลนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะ ในกลุ่มพยาบาล Generation Y การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการคงอยู่ในงานและปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y ได้แก่ สัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน ภาระครอบครัวการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจความจ าเจของงาน ค่าตอบแทน โอกาสก้าวหน้า ในอาชีพ และบรรยากาศองค์การกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่เกิดระหว่าง พ.ศ. 2523-2537 และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งจ านวน 104 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน ภาระครอบครัว การมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจ ความจ าเจของงาน ค่าตอบแทน โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ บรรยากาศองค์การ และการคงอยู่ในงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลวิชาชีพ Generation Y ในโรงพยาบาลที่ท าการศึกษา มีการคงอยู่ ในงาน เฉลี่ย 10.07 ปี (SD =6.49, Range= 2-29)โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ที่ท าการศึกษา ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เฉลี่ย 4.64 ปี (SD =2.69, Range= 2-14)และระยะเวลา ที่วางแผนจะอยู่ปฏิบัติงานต่อไป เฉลี่ย 5.42 ปี (SD =5.37, Range= 0-25)และพบว่ามีเพียงปัจจัย เดียวคือโอกาสก้าวหน้าในอาชีพที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติกับการคงอยู่ในงาน ของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ า (r= .26, p< .05) และมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงาน (B = .26) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนการคงอยู่ในงาน ของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y ได้ร้อยละ 7 (R 2 =.07) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัย เสนอแนะว่า ผู้บริหารควรให้ความส าคัญกับการส่งเสริมความก้าวหน้า ในวิชาชีพของพยาบาล เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพ Generation Y มีการการคงอยู่ในงานให้สูงขึ้น
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพ
dc.subjectการทำงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพ -- ความพอใจในการทำงาน
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
dc.title.alternativeFctors influencing retention of genertion Y nurses t hospitl
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeIssues of hospital nurse intention to remain employed has been increasing, especially among nurses in generation Y. The purposes of this research were to study the retention among generation Y professional nurses and to examine its influencing factors including social integration, kinship responsibility, participation, routinization, pay, promotional opportunity, and organization climate. A random sample of 104 professional nurses who were born between 1980 to 1994 and having work experience more than one year was recruited from a hospital. Data were collected by using self-report questionnaires of personal data, social integration, kinship responsibility, participation, routinization, pay, promotional opportunity, organization climate and retention. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and multiple regression. The results of the study demonstrated that retention of professional nurses Generation Y in the study hospital was 10.07 years (SD = 6.49, Range= 2-29). Duration of working in the study hospital was 4.64 years (SD = 2.69, Range= 2-14), and they planned to continue working in the hospital for 5.42 years (SD = 5.37, Range= 0-25). Only promotional opportunity was found to have statistically significant and low positive relationship with retention (r= .26) and was a significant predictor of retention (B = .26) which explained 7% of variance in nurse retention (R 2 = .07, p < .01). The findings suggested that administrators should concern and promote professional progression among these nurses. This would increase retention among generation Y professional nurses.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาล
dc.degree.name
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น