กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6512
ชื่อเรื่อง: | อิทธิพลของปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Influence of interpersonl fctors on depression mong lte dolescents |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ ดวงใจ วัฒนสินธุ์ สุนันท์ เสียงเสนาะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความซึมเศร้า ความซึมเศร้าในวัยรุ่น มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่พบได้ในวัยรุ่นตอนปลายและเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายปัจจัยการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า และอิทธิพลของปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ได้แก่ ความฉลาดทางจิตวิญญาณ ความผูกพันในครอบครัว ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน และพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จำนวน 265 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือรวบรวมข้อมูล การวิจัยมี 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความฉลาดทางจิตวิญญาณ แบบประเมินความผูกพันในครอบครัวแบบประเมินความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน และแบบวัดพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นตอนปลายมีภาวะซึมเศร้าคิดเป็นร้อยละ 46.40 จำแนกเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง ร้อยละ 23.40 และภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง ร้อยละ 23.00 จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่าความผูกพันในครอบครัว (β = -0.19, p< .05) ความความฉลาดทางจิตวิญญาณ (β = -0.17, p< .05) ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน (β = -0.21, p< .001) และพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต (β = 0.16, p< .05) ร่วมกันอธิบายภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลายได้ร้อยละ 19.20 (R 2 = .192, p< .001) ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนปลายเป็นประเด็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตสำคัญ ทีมสุขภาพควรตระหนักถึงและจัดให้มีบริการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยการ เสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน ความฉลาดทางจิตวิญญาณ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6512 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น