กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6512
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ | |
dc.contributor.advisor | ดวงใจ วัฒนสินธุ์ | |
dc.contributor.author | สุนันท์ เสียงเสนาะ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:01:40Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:01:40Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6512 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่พบได้ในวัยรุ่นตอนปลายและเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายปัจจัยการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า และอิทธิพลของปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ได้แก่ ความฉลาดทางจิตวิญญาณ ความผูกพันในครอบครัว ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน และพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จำนวน 265 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือรวบรวมข้อมูล การวิจัยมี 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความฉลาดทางจิตวิญญาณ แบบประเมินความผูกพันในครอบครัวแบบประเมินความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน และแบบวัดพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นตอนปลายมีภาวะซึมเศร้าคิดเป็นร้อยละ 46.40 จำแนกเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง ร้อยละ 23.40 และภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง ร้อยละ 23.00 จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่าความผูกพันในครอบครัว (β = -0.19, p< .05) ความความฉลาดทางจิตวิญญาณ (β = -0.17, p< .05) ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน (β = -0.21, p< .001) และพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต (β = 0.16, p< .05) ร่วมกันอธิบายภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลายได้ร้อยละ 19.20 (R 2 = .192, p< .001) ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนปลายเป็นประเด็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตสำคัญ ทีมสุขภาพควรตระหนักถึงและจัดให้มีบริการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยการ เสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน ความฉลาดทางจิตวิญญาณ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ความซึมเศร้า | |
dc.subject | ความซึมเศร้าในวัยรุ่น | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช | |
dc.title | อิทธิพลของปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย | |
dc.title.alternative | Influence of interpersonl fctors on depression mong lte dolescents | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Depression can be found among late adolescents and is associated with multiple factors. Purposes of this predictive correlational study were to examine depression and its influencing factors including spiritual intelligence, family connectedness, friendship intimacy, and internet dependency behavior among late adolescents. Participants were 265 grade 10-12 students studying in high schools at Banchang district, Rayong province. Stratified random sampling was employed for sample selection. Five questionnaires consisting of personal information form, center for Epidemiologic Studies Depression Scale, spiritual intelligence scale, family connected scale, friendship intimacy scale, and internet dependency behavior scale. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression. Findings revealed that 46.40% of participants had depression, 23.40% had mild to moderate depression and 23.00% had severe depression. Stepwise multiple regression analysis demonstrated that family connectedness (β = -0.19, p< .05), spiritual intelligence (β = -0.17, p< .05), friendship intimacy (β = -0.21, p< .001), and internet dependency behavior (β = 0.16, p< .05) explained 19.20% of variance in depression (R 2 = .192, p< .001). Results affirm that depression among late adolescents is an important mental health concern. Health care providers should be aware of it and offer late adolescents a service of enhancing family connectedness, friendship intimacy, spiritual intelligence, and modifying internet dependency behavior. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น