กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/651
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมปลากับโครงสร้างท้องถิ่นที่อยู่ในแนวปะการังภาคตะวันออก: อิทธิพลจากถิ่นที่อยู่ถูกทำลาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between fish assemblages and habitat structure on coral reefs of the East of Thailand : the influence of habitat degradation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภูษิต มัณฑะจิตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ประชากรปลา - - ไทย (ภาคตะวันออก)
ปะการัง - - ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2541
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสังคมปลากับโครงสร้างถิ่นที่อยู่บนแนวปะการังเป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน โดยเฉพาะแนวปะการังที่ถูกรบกวนอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างปี พ.ศ.2541 ได้ทำการศึกษาแนวปะการังในภาคตะวันออกรวมทั้งสิ้น 35 สถานี จาก 6 พื้นที่คือ หมู่เกาะสีชัง หมู่เกาะแสมสาร หมู่เกาะเสม็ด หมู่เกาะมัน หาดเจ้าหลาว และหมู่เกาะช้าง พบปลารวมทั้งสิ้น 136 ชนิด จาก 35 วงศ์ และลักษณะถิ่นที่อยู่ 20 ลักษณะ พบว่าโครงสร้างของชุมชนปลาและโครงงสร้างของถิ่นที่อยู่มีความแตกต่างกัน ทั้งระหว่างพื้นที่และภายในแต่ละพื้นที่ ผลจาก Canonical Discriminant Analysis แสดงให้เห็นว่าแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะช้างจะแตกต่างและมีสภาพดี กว่าแนวปะการังในพื้นที่อื่น ๆ เพราะมีปะการังเขากวางหลากหลายและชุกชุมมากกว่า สำหรับปลามีความหลากหลายและความชุกชุมมากกว่าเช่นกัน นอกจากนี้มีปลาหลายชนิดที่ไม่เคยมีรายงานการพบมาก่อนในพื้นที่นี้ เช่น Naso sp. และ Scarus hypsopterus การที่โครงสร้างถิ่นที่อยู่และสังคมปลาจากพื้นที่ต่าง ๆ ในภาคตะวันออกไม่แตกต่างกันมากนัก สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากแนวปะการังเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกรบกวนมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะจากการประมง แต่ปัจจุบันการรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์มาจากหลายสาเหตุโดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล และการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามสาเหตุทางธรรมชาติ โดยเฉพาะปรากฎการณ์แนวปะการังอกขาวในอ่าวไทยในปี พ.ศ. 2541 ทำให้โครงสร้างถิ่นที่อยู่ของแนวปะการังทั่งทั้งภาคตะวันออกเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากนี้พายุใต้ฝุ่นลินดายังทำลายแนวปะการังที่อยู่ด้านตะวันออกในหลายพื้นที่ กิจกรรมดังกล่าวส่งผลกระทบถึงปลาที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ความสอดคล้องของโครงสร้างถิ่นที่อยู่และโครงสร้างสังคมปลาของแนวปะการังในภาคตะวันออก แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทั้งสองเป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาพารามิเตอร์หลัก พบว่า เฉพาะปะการังตายมีความสัมพันธ์เชิงเส้นอย่างมีนัยสำคัญกับพารามิเตอร์ทางสังคมของปลา ในขณะที่โครงสร้างหลักอื่นรวมทั้งปะการังมีชีวิตกลับไม่มีความสัมพันธ์ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ในระดับโตรงสร้าง โดยอาศัยเทคนิค Canonical Correlation Analysis พบว่าปลา 4 กลุ่ม มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างถิ่นที่อยู่ต่างกันตามลำดับ ดังนี้ Labridae, Pomacentridae, Target families และ Majors families สาเหตุที่ปลามีความสัมพันธ์กับโครงสร้างถิ่นที่อยู่แตกต่างกันสันนิษฐานว่าจากการดำรงชีวิตที่ใช้ถิ่นที่อยู่แตกต่างกัน นอกจากนี้ Canonical Correlation Analysis ยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างโครงสร้างถิ่นที่อยู่และปลาแต่ละชนิดด้วยแบบหุ่นการรบกวนระดับปานกลาง (Intermediate disturbance model) จะมีบทบาทสำคัญในการอธิบายความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามรูปแบบความสัมพันธ์ที่มีความผันแปรไปจนไม่สามารถอธิบายได้อาจเกิดเนื่องจากการรบกวนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะต่อปลาโดยตรงทำให้โครงสร้างสังคมปลามีการเปลี่ยนไปจากที่ควรเป็นไปตามธรรมชาติในขณะที่โครงสร้างถิ่นที่อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง Pattern of relationship between structure of fish community and habitat structure on coral reefs is unclear especially on extensive disturbed reefs. During 1998, 35 coral reefs from 6 areas along the east coast of Thailand; Sichang Islands, Samaesan Islands, Samet lslands, Mun lslands. Chaolao beach and Chang lslands, were investigated. The total of 136 species of fishes from 35 families and 20 benthic lifeforms were recorded. There were significant differences on both fish community structure and habitat structure between reefs. Canonical Discriminant Analysis indicated a con cordance result between fish community structure and habitat structure that coral reefs of Chang lslands have different features from the others. Reefs of Chang lslands have more Acropora coral (both lifeforms and area cover) and more fishes (diversity and abundance) than other areas. Some fishes were recorded here for the first time. e.g. Naso sp. and Scarus hypsopterus. The factor respond to this different is disturbance from human activities which most of reefs at Chang lslands have less impact. In contrast, most of the reefs on the east coast of Thailand have been disturbed extensively from the past especially from illegal fishing. At present, a potential source of disturbance is coastal zone development (reclamation for port and industrial estate construction) and tourism (both direct and indirect). During 1998, however, coral reef bleaching event in the Gulf of Thailand caused a wide-spade habitat changes on coral reefs of this area, Furthermore, Typhoon "Linda" caused a complete habital destruction of the eastward reefs in many areas. A concordance result of the structure of both fish community and habitat structure reveals the relationships between these two component. When considered community parameters and major habitat structure, however, it was found that only dead coral cover has significant relationships, both linear and parabola, with community parameters of fishes. In contrast, living coral did not show and significant relationship with community parameters of fishes. When considered community structure, Canonical Correlation Analysis highlighted different degree of relationships with habital structure among fish families/ groups. The order from high to low was Labridae, Pomacentridae, Target families and Major families respectively. Behaviour of fish especially habital used and home range suspected to be a prime factor explained this relationship. Canonical Correlation Analysis also illustrated a specific relationships between a particular species of fish and a particular habitat structure that dominate in the relationship. The model that is usually explained community structure was "Intermediate Disturbance Model" could not fully explained the relationship found in this study. The inconsistent and unexplained pattern of the relationship may due to extensive impact from human activities in the study area. Activities such as fishing and tourism did not cause habitat lost but could disturb fish community and cause stochastic changes to fish community structure.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/651
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2568_131.pdf2.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น