กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/64
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ฉันทนา จันทวงศ์ | |
dc.contributor.author | ประทุม ม่วงมี | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:45:45Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:45:45Z | |
dc.date.issued | 2545 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/64 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยสถาบันของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มีจุดมุ่งหมายเพื่อการติดตามสถานภาพการทำงานของมหาบัณฑิตรุ่นปีการศึกษา 2544 เพื่อการสำรวจความคิดเห็นของมหาบัณฑิตต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนและการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน และเพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพในการทำงานในทรรศนะของหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานของมหาบัณฑิตเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ชุด ชุดที่ 1 แบบสำรวจสถานภาพการทำงานของมหาบัณฑิต ชุดที่ 2 แบบสำรวจความคิดเห็นต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน ชุดที่ 3 แบบสอบถามความสามารถและคุณลักษณะของมหาบัณฑิตในการปฏิบัติงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากมหาบัณฑิตใช้การเก็บข้อมูลโดยตรงในช่วงที่มีการซ้อมรับปริญญาบัตร โดยแจกแบบสอบถามให้แล้วรอรับกลับคืน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน โดยการส่งทางไปรษณีย์และสอดซองติดแสตมป์ให้ส่งกลับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณา คือการแจกแจงความถี่ และร้อยละผลการวิจัยพบว่าบัณฑิตรุ่นปีการศึกษา 2544 ตอบแบบสอบถามร้อยละ 72.9 เป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ ถูกต้องร้อยละ 67.5 สถานภาพการทำงานภายหลังสำเร็จการศึกษา มีงานทำแล้วก่อนสำเร็จการศึกษา ร้อยละ 96.8 มีผู้ที่ยังไม่ได้ทำงานเพียง 27 คน ภายหลังสำเร็จการศึกษามีงานทำ 19 คน และยังเหลือผู้ที่ไม่ได้ทำงาน 6 คน เนื่องจาก 1 คนลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก มหาบัณฑิตที่ทำงานแล้วส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 15,000-20,000 บาท ส่วนใหญ่อาชีพรับราชการ ร้อยละ 59.1 รองลงมาเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 17.6 มหาบัณฑิตได้ทำงานที่ตรงกับสาขาที่จบมาร้อยละ 76.2 สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 62.7 ระดับปานกลาง ร้อยละ 32.7 ลักษณะงานที่ทำภายหลังสำเร็จการศึกษาได้ทำงานเดิมในตำแหน่งใหม่ที่สูงขึ้นพบร้อยละ 12.6 และได้ทำงานใหม่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น พบร้อยละ 8.7 จะเห็นได้ว่ามหาบัณฑิตได้ทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น รวมทั้งงานเดิมและงานใหม่ พบร้อยละ 21.3 ความพึงพอใจต่องานที่ทำพบว่า พึงพอใจร้อยละ 91.0 ในการสำรวจความคิดเห็นของมหาบัณฑิตทุกสาขาต่อหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน ผลการศึกษาพบว่า ด้านหลักสูตรมีความเหมาะสมมากในระดับมาก 2 อันดับแรก คือ เนื้อหาสาระที่เรียกตรงกับความต้องการของงาน เนื้อหาสารที่เรียนทันสมัย มหาบัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะในระดับมาก 2 อันดับสุดท้าย คือการฝึกในห้องปฏิบัติการ/ ฝึกภาคสนาม การศึกษาดูงาน/ การสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพที่นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอนมหาบัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก 2 อันดับแรกคือ การประสานงานระหว่างอาจารย์ ปริมาณอาจารย์ผู้สอน มีความเหมาะสมมาก 2 อันดับสุดท้ายคือ ลำดับวิชาที่เรียน การประเมินผลรายวิชา ด้านการควบคุมวิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก 2 อันดับแรกคือ คุณภาพเนื้อหาวิทยานิพนธ์ ความเหมาะสมของการประสานงานระหว่างอาจารย์มีความเหมาะสมในระดับมาก 2อันดับสุดท้ายคือ ปริมาณอาจารย์ผู้คุมวิทยานิพนธ์/ งานนิพนธ์ การจัดอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/ งานนิพนธ์ ในประเด็นด้านการอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน มหาบัณฑิตส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ บริเวณที่จอดรถ บริการอาหาร บริการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งมหาบัณฑิตได้ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขด้วยในการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของมหาบัณฑิตในการทำงานในทรรศนะของหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานของมหาบัณฑิต ผลการศึกษาพบว่า มหาบัณฑิตมีความสามารถในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมภายหลังสำเร็จการศึกษา ส่วนใหญ่มีความสามารถในการปฏิบัติงานในระดับมาก พบร้อยละ 80.6 โดยความสามารถในการปฏิบัติงานเปลี่ยนแปลงไปทิศทางที่ดีขึ้นร้อยละ 89.6 เท่าเดิมร้อยละ 8.3 และแย่ลงร้อยละ 0.4 ความคิดเห็นต่อความสามารถและคุณลักษณะในการปฏิบัติงานรายด้าน หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานของมหาบัณฑิตมีความเห็นว่า มหาบัณฑิตมีความสามารถและคุณลักษณะในระดับมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ ความซื่อตรงต่อหน้าที่ ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ความสามารถและคุณลักษณะที่จัดอยู่ในกลุ่ม 3 อันดับ สุดท้าย ได้แก่ ความสามารถในการบังคับบัญชา ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษคณะผู้วิจัย มีข้อเสนอแนะว่า ควรทำการศึกษาความสามารถในการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิตก่อนเรียนและภายหลังสำเร็จการศึกษาเปรียบเทียบเหมือนกัน เพื่อจะได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในความสามารถ นอกจากนี้ยังได้เสนอแนะให้สาขาวิชา คณะ วิทยาลัย หน่วยงานบริการของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับงานซึ่งได้รับความคิดเห็นของมหาบัณฑิตซึ่งอยู่ในระดับปานกลางระดับน้อย และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้ปรับปรุงแก้ไขได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับเงินอุดหนุนการวิจัยจากเงินรายได้บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การทำงาน | th_TH |
dc.subject | บัณฑิต - - การจ้างงาน | th_TH |
dc.subject | สาขาการศึกษา | |
dc.title | การติดตามคุณภาพบัณฑิต รุ่นปีการศึกษา 2544 | th_TH |
dc.title.alternative | Follow-up Study of 2002 Graduates of Burapha University | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2544 | |
dc.description.abstractalternative | The objecttives of this Burapha University Graduation School institution research were to study the employment status of the 2002 graduates; thrie opinion towards curriculum, teaching and learning management and supporting facilities as well as equipments; and the opinion on work performance as precieved by their superiors and fellow employees.Research instruments included 3 sets of questionaires. Set 1 was the survey of job status of the graduates; set 2 was the survey of the graduates' opinoin towards curriculum, instrution and supporting facilities and equipments. Set 3 to be answered by the graduates superior and fellow employee, was a survey on the graduates characters and work perfromance. Questionaires were distributed and collected on the same day during 2002 commencement practise at the university. Data from the graduates' supervisor and fellow employees were mail collected. Frequency and percentage were used for the analyses of data. 72.9 % of graduates return the questionaires of which 67.5% was completed and thus used for analyses revealed the following: 98.6% was ready on the job before entering the graduates studies: out of 27 graduates without job coming into graduates program, 19 got jobs after graduation, however,7 were still unemployed while 1 continues on for doctoral degree: the graduates income was mostly in the bracket of 15,001-20,000 baht/month; 59.1% was government employees while 17.6% was employees in private sector: 76.2% of the graduates got a job related to their field of study and were able to apply their knowledge on their job was the same but with higher position after gradution while 8.7% reported of working in different job with higher job position; this is to say that 21.3 of the graduates had higher job position after gradution and 91 % of them was satisfy with the job situation.With respect to their opinion towards curriculum, teaching and learning management and supporting facilities and equipments, data revealed that the two best things of the curriculum were job related and up-to-date. The tow least appreciation were laboratory/field experience and study visit/practical experience. Most graduates reported their opinion towards teaching and learning management were to wish level on coordination among lectureres and number of lectures. Whiles the course sequence and the course evaluation were the least appreciation of the teaching learning management. On the issue of practice of advisory of thesis, the graduates felt that quality of thesis and coordination among advisory committee members were most satistied. However, the two drawbacks with this respest were insufficient number of advising committee and the inappropriate assignment of advidory committee | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2545_005.pdf | 5.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น