กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6463
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสำหรับใบหน้าในพื้นที่ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors ffecting fcil mkeup products purchse in Sensuk subdistrict, Meung district, Chon Buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชำนาญ งามมณีอุดม ทักษญา สง่าโยธิน เบญจภรณ์ ผดุงรส มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ครีมถนอมผิว การซื้อสินค้า มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร เครื่องสำอาง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางสําหรับใบหน้าในพื้นที่ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางสําหรับใบหน้าในพื้นที่ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัด ชลบุรี ดังนั้นผู้วิจัยจึงทําการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) คือในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตําบลแสนสุขที่ซื้อเครื่องสําอางสําหรับใบหน้าจํานวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (Independent-Samples t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple linear regression) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก จํานวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-29 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นนักเรียนและนักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตํ่ากว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท ส่วนใหญ่เลือกซื้อครีมและโลชั่นล้างหน้า โดยเป็นสินค้าของประเทศไทย ผลการทดสอบสมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางสําหรับใบหน้าในพื้นที่ตําบลแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2 ด้าน คือ 1) ด้านพฤติกรรมการซื้อ (R2 = .534) จํานวน 5 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการสร้างและนําเสนอลักษณะทางกายภาพ (Beta = .376) ด้านราคา (Beta = .198) ด้านกระบวนการ (Beta = .131) ด้านผลิตภัณฑ์ (Beta = .099) และด้านบุคลากร (Beta = .097)2) ด้านการประเมินหลังการซื้อ (R2 = .300) จํานวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ด้านบุคลากร(Beta = .059) ด้านราคา (Beta = .063) และด้านการสร้างและนําเสนอลักษณะทางกายภาพ (Beta = .060) ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ให้ความสําคัญกับคุณภาพของสินค้าเป็นหลัก ด้านราคา ผู้ซื้อจะเลือกระดับราคากลาง ๆ ด้านบุคลากรให้ความสําคัญกับการที่พนักงานแนะนําสินค้าได้ดีหรือตอบข้อซักถามข้อสงสัยได้อย่างชัดเจน ด้านกระบวนการให้ความสําคัญกับการรับสินค้าสะดวกครบถ้วน และด้านการสร้างและนําเสนอลักษณะทางกายภาพให้ความสําคัญกับการตกแต่งร้านสวยงาม มีการจัดวางสินค้าที่ดี ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางสําหรับใบหน้า ด้านพฤติกรรมการซื้อมีการซื้อต่อครั้งเพียงพอต่อการใช้งาน และด้านการประเมินหลังการซื้อ โดยทั้งหมดประทับใจในแบรนด์และซื้อซํ้าข้อเสนอแนะ ควรมีสินค้าให้เลือกหลากหลายระดับราคาหลักร้อยถึงหลักพัน มีพนักงาน แนะนําสินค้าใหม่ ๆ การบริการรวดเร็วและการจัดร้านให้แปลกใหม่ |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6463 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น