กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6462
ชื่อเรื่อง: | คุณภาพการให้บริการสาธารณะด้านระบบประปาหมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Qulity of public service in villge wter supply system of wngmi subdistrict dministrtive orgniztion, wng somboon district, srkew province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนิสรา แก้วสวรรค์ พุทธชาติ ภู่ทับทิม มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ประปาชนบท -- บริการลูกค้า มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะด้านระบบประปาหมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มีครัวเรือนอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 387 คน ด้วยวิธีการสำรวจ (Survey research) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลไปทำการประมวลผล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the SocialSciences) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และส่วนการทดสอบ สมมติฐานนั้น ใช้การพิสูจน์ความแตกต่างแบบ t-test และ One-way ANOVA หากพบว่ามีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้วิจัยจึงทำการทดสอบหาค่าความสัมพันธ์รายคู่โดยใช้วิธีของ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 56.85 ด้านอายุ 25-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.49 ด้านระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 70.03 ด้านอาชีพเกษตรกร/ ปศุสัตว์ คิดเป็นร้อยละ 23.51 ด้านรายได้ต่อเดือน 10,000-30,000 บาท คิดเป็น ร้อยละ 54.78โ ดยภาพรวมปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะด้านระบบประปาหมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ไม่แตกต่างกัน ประชาชนมีการประเมินคุณภาพการบริการอยู่ในระดับปานกลางอาจเป็นเพราะพนักงานมีจำนวนจำกดั ประชาชนมีปริมาณเพิ่มขึ้น ปริมาณงานมากเกินมาตรฐานที่กำหนดจึง ไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าคุณภาพการให้บริการ ด้านความเชื่อถือได้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการตอบสนองความต้องการอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการเข้าถึงได้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความสุภาพของพนักงานอยู่ในระดับมาก ด้านการติดต่อสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับปานกลาง ด้านความเข้าใจลูกค้าอยู่ในระดับมากและด้านความสามารถจับต้องได้และรู้สึกได้อยู่ในระดับมาก |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6462 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น