กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6435
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorธีทัต ตรีศิริโชติ
dc.contributor.authorจิระประภา กล่ำเพชร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:51:16Z
dc.date.available2023-05-12T02:51:16Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6435
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา ซึ่งได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 400 ชุด และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งสถิติเชิงอนุมาน เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ ค่า t-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 54.00 รองลงมาเป็นเพศ ชาย คิดเป็นร้อยละ 46.00 ซึ่งมีอายุ 26-35 ปี คิดเป็นร้อยละ 47.00 มีการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่าคิดเป็นร้อยละ 43.80 มีอาชีพเป็นนักเรียน-นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 31.20 มีรายได้ประจำต่อเดือนระหว่าง 3,001-4,000 ริงกิต คิดเป็นร้อยละ 35.20และมีช่องทางการรับสื่อผ่านทางสื่อบุคคล คิดเป็นร้อยละ 45.80 นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.89 คืออยู่ในระดับมากและรายด้าน คือ ด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ ด้านกิจกรรมและกระบวนการ และด้านการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ยังพบอีกว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษาและช่องทางการรับสื่อที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาแตกต่างกัน นอกจากนี้เมื่อจำแนกตามปัจจัยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จะพบว่า ปัจจัยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้านการมีส่วนร่วมมีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศมากที่สุด ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา คือ ปัจจัยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้านการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นในทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ รองลงมาการรวมกลุ่มของประชาชน ในท้องถิ่นในการบริหารการจัดการท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวในการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- สงขลา
dc.subjectนักท่องเที่ยว -- มาเลเซีย
dc.subjectเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subjectนักท่องเที่ยว -- การตัดสินใจ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
dc.subjectอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา
dc.title.alternativeFctors influencing ecotourism of mlysin tourists of tourist ttrctions in song kh province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to study personal factor and ecotourism factor of Malaysian tourists at the tourist attractions in Song Kha Province. The data collection was carried out from 400 questionnaires and the statistics of this analysis included Frequency, Percentage, Average, Standard Deviations, t-test, F-test, and Multiple Regression. The results of this study showed that most samples were female as 54%, male as 46%, aged 26-35 years as 47%, graduated bachelor degree as 43.80%, students as 31.20%, average monthly income of 3,001-4,000 Ringgit as 35.20%, and personal media channel as 45.80%. The study also revealed opinions towards decision making of Malaysian tourists in ecotourism at an average of 3.89 which was considered high level, and also found in factors such as area, management, activity and process, and participation. The personal factors such as education, and personal media channel had an influence on the difference in decision making of ecotourism in Song Kha Province. Importantly, ecotourism was the most influential factor to the decision making of the Malaysian tourists. Therefore, the ecotourism factor that influenced the decision making of Malaysian tourists was participation as it aimed to benefit the community in terms of economy, and distribution of income. Later, community participation, which aimed to enhance tourism management among locals and tourists in the area.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการจัดการธุรกิจโลก
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น