กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6429
ชื่อเรื่อง: | การรับรู้ภาพลักษณ์บรรษัทภิบาลของประชาชนที่มาใช้บริการธนาคารกรุงเทพฯ สาขาเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Customers’ perception of corporte imge of bngkok bnk, khun khn brnch in phr prdeng district, smut prkrn province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนิสรา แก้วสวรรค์ กัญญารัตน์ มั่งคั่ง มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | บรรษัทภิบาล มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์บรรษัทภิบาลของธนาคารกรุงเทพฯ สาขาเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้บริการธนาคารกรุงเทพฯ สาขาเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการรวมทั้งสิ้น 400 คน ด้วยวิธีการสำรวจ (Survey research method) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางในการดำเนินการวิจัย โดยมีรายละเอียดในเรื่องการกำหนดกลุ่มตัวอย่างประชากร การสุ่มตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดทำและการวิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลไปทำการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และส่วนการทดสอบสมมติฐานนั้นใช้การพิสูจน์ความแตกต่างแบบ t-test และ One-way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 266 คน คิดเป็นร้อยละ 66.5 มีอายุ 26-35 ปี จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 37.8 มีระดับการศึกษาที่ปริญญาตรีจำนวน 247 คน คิดเป็นร้อยละ 61.8 มีรายได้ที่ได้รับต่อเดือนอยู่ที่มากกว่า 30,000 บาท จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 28.5 มีอาชีพรับจ้าง จำนวน 173 คน คิดเป็นร้อยละ 43.3 หลักบรรษัทภิบาลขององค์กรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.05) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลักบรรษัทภิบาลขององค์กรอยู่ในระดับมาก ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการในระยะยาวอย่างยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.77) รองลงมา คือ ด้านการรู้สำนึกในหน้าที่ ( = 3.53) อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate image) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.44) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการรับรู้ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate image) อยู่ในระดับมากทุกด้านได้แก่คุณประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.84) รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ( = 3.82) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษา, รายได้, อาชีพ ที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของธนาคารกรุงเทพฯ ที่แตกต่างกัน และหลักบรรษัทภิบาลของธนาคารกรุงเทพฯ สาขาเขื่อนขันธ์ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของธนาคารกรุงเทพฯ |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6429 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น