กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6417
ชื่อเรื่อง: | การเพิ่มประสิทธิภาพการบรรจุงานภายในรถขนส่งโดยใช้หลักไคเซนของบริษัท AAA Logistics จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Incresing efficiency in pckging in truck by using kizen principles by AAA Logistics Co., Ltd. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทรี ฟรีสตัด มนิชญา ขำสอน มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การขนส่งสินค้า มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การบริหารงานแบบญี่ปุ่น |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง หัวหน้างานฝ่ายปฏิบัติการ และพนักงานปฏิบัติการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการบริหารงาน และการจัดการขนส่งของบริษัท AAA Logistics จํากัด จํานวน 17 คน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่บรรจุสินค้าภายในรถขนส่ง ลดต้นทุนในการขนส่ง และป้องกันสินค้าเกิดการเสียหายจากการขนส่งของบริษัท AAA Logistics จํากัด ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ พนักงานฝ่ายปฏิบัติการ และผู้บริหารระดับสูง รวมถึงความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อความคิดเห็นของฝ่ายปฏิบัติการ แนวทางที่มีความคิดเห็นเยอะเป็น 2 อันดับแรก เริ่มจากกลุ่มของหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ พนักงานฝ่ายปฏิบัติการ เสนอความคิดเห็นเยอะที่สุด 2 อันดับแรก คือ ทําพาเลทสินค้าให้หน้าเรียบ รับสินค้า รวมกัน ทําตะแกรงใส่สินค้า กลุ่มของผู้บริหาร เสนอความคิดเห็นเยอะที่สุด 2 อันดับแรก คือ ติดตั้ง ชั้น 2 ชั้น ทําตะแกรงใส่สินค้า รับสินค้ารวมกัน กลุ่มความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อความคิดเห็นของฝ่ายปฏิบัติการ ที่มีความคิดเห็นตรงกัน 2 อันดับแรก คือ รับสินค้ารวมกัน และทําตะแกรง ใส่สินค้า ซึ่งเมื่อสรุปทั้ง 3 กลุ่มแล้ว จะมีทั้งหมด 4 แนวทาง คือ ทําพาเลทสินค้าให้หน้าเรียบ รับสินค้ารวมกน ทําตะแกรงใส่สินค้า ติดตั้งชั้น 2 ชั้น ซึ่งข้อเสนอที่เห็นตรงกันทั้ง 4 หัวข้อนี้ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการบรรจุสินค้าบนรถขนส่งนั้นเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถลดต้นทุนจากการขนส่งได้ และยังทําให้สินค้ามีความปลอดภัยในระหวางการขนส่งอีกด้วย โดยที่เมื่อเรามาวิเคราะห์ทั้ง 3 กลุ่ม พร้อมกัน แนวทางที่มีความคิดเห็นตรงกันทั้ง 3 กลุ่ม มี 2 วิธี คือ รับสินค้ารวมกัน และทําตะแกรงใส่สินค้า ซึ่งทั้ง 2 วิธี สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบรรจุสินค้าบนรถขนส่ง ลดต้นทุนการขนส่ง และป้องกันสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหายอีกด้วย หลังจากที่เราได้แนวทางแล้ว จากนั้นเราจะนํามา เข้าสู่กระบวนการ PDCA ซึ่งเป็นหัวใจสําคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยการมาทําแผนการปรับปรุง (P) นําไปปฏิบัติ (D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดําเนินการตรวจสอบ (C) พบปัญหาก็ทําการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปได้เรื่อย ๆ จึงเรียกวงจร PDCA |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6417 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 8.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น