กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6413
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorทักษญา สง่าโยธิน
dc.contributor.authorลักษณา สุระมรรคา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:47:42Z
dc.date.available2023-05-12T02:47:42Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6413
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี (Mixed method) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สร้างภาวะความสุขในการทำงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังจังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล บุคลิกภาพ เจตคติในการทำงาน ครอบครัวและองค์กรกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พนักงาน จำนวน 400 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และพนักงาน จำนวน 9 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินงานวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามแบบปิดสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเปิดสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานส่วนใหญ่มีความสุขในการทำงานในระดับปานกลาง (2) ผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพ ภาพรวมพบว่า บุคลิกภาพที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ด้านน้ำใจดีจิตวิญญาณดี ครอบครัวดีและใฝ่รู้ดีที่แตกต่างกันย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้น ความสุขในด้านสุขภาพดีผ่อนคลายดีสังคมดี และด้านสุขภาพการเงินดีสอดคล้องกับงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ว่าพนักงานที่มีบุคลิกภาพแบบประนีประนอม ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายเกิดความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานและร่วมกันทำงานเป็นทีม การมีน้ำใจที่ดีต่อกัน ส่งผลต่อความสุขในการทำงานด้านน้ำใจดีบุคลิกภาพแบบยึดมั่นในหลักการจะทำให้งานประสบความสำเร็จ มีการวางแผนงานและชีวิตรวมถึงมองเป้าหมายเป็นหลัก(3) ผลการวิเคราะห์เจตคติในการทำงาน ได้แก่ ด้านความรู้ ความรู้สึก และพฤติกรรม ภาพรวมพบว่า ความรู้สึกและพฤติกรรมมีผลต่อภาวะความสุขในการทำงาน โดยที่ตัวแปรทั้ง 3 ด้านร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสุขในการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 44.30 สอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพที่ว่าการให้อิสระในการกำหนดวิธีทำงานการวางแผนงานจะส่งเสริมศักยภาพของพนักงานให้กล้าคิดกล้าทำ มุ่งมั่น กระตือรือร้นและสนุกกับงานที่ได้รับมอบหมายการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ให้เกียรติกันทำให้พนักงานรักและผูกพันในองค์กร พร้อมทุ่มเทกำลัวกายกำลังใจในการทำงานให้แก่องค์กร นำไปสู่ผลการปฏิบัติงานที่ดีและสร้างความสุขในการทำงาน (4) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยครอบครัว ได้แก่ สัมพันธภาพในครอบครัวและการสนับสนุนจากครอบครัว พบว่า ตัวแปรทั้ง 2 ด้านร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสุขในการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 24.2 สอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพที่ว่า การดูแลเอาใจการให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาในงานจะช่วยลดความเครียดจากการทำงาน คำชื่นชมจากคนในครอบครัวจะเป็นกำลังใจให้พนักงานทำงานให้ดียิ่งขึ้น การให้กำลังใจเมื่อผิดพลาดหรือล้ม เหลวในงานเป็นพลังในการแก้ไขปัญหา ฟันฝ่าต่ออุปสรรคการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวเช่น การออกกำลังกาย ก็จะทำให้สุขภาพดีนอกจากนี้การปลูกฝังแนวคิดจากครอบครัวในการแบ่งปันส่งผลต่อสัมพันธภาพที่ดีในที่ทำงาน และการทำงานเป็นทีม (5) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านองค์กร ได้แก่ นโยบายการบริหารงาน ลักษณะงาน สัมพันธภาพในที่ทำงาน ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การได้รับการยอมรับนับถือขวัญกำลังใจในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภาพรวมพบว่า ลักษณะงาน สัมพันธภาพในที่ทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีผลต่อภาวะความสุขในการทำงานของพนักงาน โดยตัวแปรปัจจัยทั้ง 7 ด้านร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสุขในการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 66.8 สอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพที่ว่า การมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถทำให้พนักงานเห็นคุณค่าของงานเกิดแรงจูงใจความหลากหลายของงานจะทำให้พนักงานใช้ทักษะในหลาย ๆ ด้าน ลดความเบื่อหน่ายในงาน เกิดความผูกพันต่องานสัมพันธภาพที่ดีในที่ทำงานจะส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การประกาศยกย่องให้ผู้อื่นรับทราบหากพนักงานทำงานได้ดีเป็นกำลังใจในการทำงานเกิดภาคภูมิใจในงานที่ก่อให้เกิดความสุขในการทำงาน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยในการทำงาน มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน หากสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีก็อาจส่งผลต่ออัตราการลาออกของพนักงาน
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
dc.subjectความสุขในการทำงาน
dc.subjectพนักงาน -- การทำงาน
dc.titleปัจจัยที่มีสร้างภาวะความสุขในการทำงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeFctors ffecting the hppy workplce of employee in electronics nd home pplinces industries in Lem chbng industril estte, chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe study was mixed method research whose objective was to investigate factors affecting happiness at workplace for employees in electronics and home appliances industries in Laem Chabang Industrial Estate, Chonburi Province. The employees were categorized by personal factors, personality, attitude toward work, family and organization. For quantitative research, there were 400 employees in the sample group. For qualitative research, there were 9 employees in the sample group. The instrument for quantitative research was questionnaire with close-ended questions and the instrument for qualitative research was questionnaire with open-ended questions. The statistics used for data analysis consisted of both descriptive and inferential statistics. The findings were as follows: (1) Most of the employees gave significance to the happiness at the workplace at the moderate level. (2) From the analysis of personality, employees with different personality concerning good mind, good spirit, good family, good knowledge and desire to knowledge had an effect on workplace happiness at the significance level of .05. However, personality concerning good health, relaxation, society and financial stability didn’t have an effect on the workplace happiness. These results were consistent with the results of the qualitative research indicating that employees with a compromising personality could tolerate other people’s opinions. This could make it easy for them to work with others and could create a good working relationship so that they could work together as a team. Good spirit affected the workplace happiness concerning enjoying the work. Employees who were strict to the principles could make the job successful because they were enthusiastic, had plans for their work and life, and focused on the goal of the work. (3) From the analysis of the attitude toward work concerning knowledge, feeling, behavior, it was found that the feeling and behavior had an effect on happiness at work. These three variables could explain the variance of the employees’ happiness at work by 44.30 %. This was consistent with the results of the qualitative research indicating that freedom to determine how to work and how to plan work could promote the employees’ potential to dare to think, to be enthusiastic, and to enjoy the task assigned. Equally treated and given honor, the employees loved and were committed to the organization, and they were ready to devote their physical strength to work for the organization. This led to good performance and happiness at work. (4) From the analysis on family including relationship in the family and family support, it was found that the two variables could explain the variance of the employees’ happiness at work by 24.2 %. This was consistent with the results of the qualitative research indicating that caring and counseling when problems occurring at work could reduce stress from work. The compliments of the family members would encourage employees to work better. Consolating when employees made mistakes or failed in their job would strengthen them to solve their problems and help them overcome the barriers. Time sharing in the family such as participating in physical exercise would also make good health. In addition, implanting the concept of sharing from the family affected good relationships at the workplace and good teamwork. (5) From the analysis of organizational factors concerning policy on management of workplace, work features, relations in the workplace, career path in the job, being respected, morale support in workplace and the overall working environment, it was found that work features, the relationships in the workplace, being respected and the working environment had an effect on employees’ happiness. The seven variables could explain the variance in employees’ happiness by 66.8 %. This was consistent with the qualitative research. Proper assignment, knowledge and the ability of employees made them recognize the value of the work and gave them motivation. In addition, the variety of jobs would allow employees to use their skills in many ways. This reduced boredom at work and led to commitment to work. Good relationships in the workplace would promote teamwork. Recognizing and praising employees if they did their work well encouraged them to work better and made them proud of the work they did. In addition, a safe working environment affected their performance. If the environment was bad, it would affect the rate of employee resignation.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น