กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6401
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
dc.contributor.authorนภัสสร อุตอามาตย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:47:40Z
dc.date.available2023-05-12T02:47:40Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6401
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้รูปแบบ และกระบวนการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารของบุคลากรสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เป็นแนวทางในการปรับปรุงการสื่อสารภายในองค์กรให้ถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิธีการดําเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากร ตําแหน่งข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจํา จํานวน 132 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ Independent sample t-test, ANOVA F-test, Multiple linear regression และ Simple linear regression analysisและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร ตําแหน่งผู้อํานวยการส่วน จํานวน 8 คน ผลการวิจัยปรากฏว่า ผู้ตอบแบบส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ช่วงอายุ 36 -45 ปี ตําแหน่งข้าราชการ การศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทํางานช่วง 16 -20 ปี และ 21 ปีขึ้นไป ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า รูปแบบการสื่อสารมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 60.4 แสดงว่า การสื่อสารจากบนลงล่าง ผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ออกคําสั่งในการทํางานของหน่วยงาน กำหนดนโยบายและคอยให้คําแนะนํา คําปรึกษาการสื่อสารจากล่างขึ้นบน บุคลากรสามารถเข้าพบผู้บังคับบัญชา เพื่อขอคําปรึกษาแนะนําใน เรื่องเกี่ยวกับงาน หากพนักงานมีปัญหาในการทํางานสามารถแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบได้ตลอดเวลา การสื่อสารแบบแนวนอน พนักงานจะมีการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานและช่วยกันแก้ไขปัญหาส่วนกระบวนการสื่อสารมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์ การพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 48.4 โดยกระบวนการสื่อสารที่ใช้ในสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศ ไทย คือ การสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ E-mail โทรสาร โทรศัพท์การค้นหาข้อมูลผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์เช่น line facebook และการสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน
dc.subjectการสื่อสารข้อมูล
dc.subjectสถานีวิทยุ
dc.subjectการสื่อสาร
dc.titleช่องทางการส่งข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการรับ-ส่งข่าวสารของบุคลากรสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
dc.title.alternativeChnnels of communiction nd orgniztionl communictions tht influence the efficiency ofsending nd receiving informtion mong rdio thilnd personnel
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the research was to study recognition model and communication process within the organization affecting communication performance of personnel in the National Broadcasting Services of Thailand. It was also a guideline to improve communication within the organization to be accurate, faster, and more effective. The research method was divided into two parts: 1) quantitative research in which the sample group consisted of 132 government officials and government employees and the statistics used for the analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation; and the inferential statistics consisted of the Independent sample t-test, ANOVA F-test, Multiple Linear Regression and Simple Linear Regression Analysis; and 2) qualitative research in which in-depth interview was conducted with 8 executives whose position was Division Director. The results showed that most respondents were male officials aged between 36 and 45 years old. They had a bachelor degree and their working experience was in the ranges of 16-20 years and 21 years or more. The communication model had an effect on communication efficiency at the significance level of 0.05, and the value of predictive coefficient was at 60.4 percent. This indicated that it was top down communication. The supervisor issued the instructions and advised the officials and they were also policy makers. Communication was also top-up because personnel could meet supervisors for advice on work issues. If the employees had a problem, they could inform their supervisor at any time. There was also horizontal communication. Employees could communicate with colleagues and helped each other solve problems. The communication process had an effect on communication efficiency at the significance level of 0.05, and the value of a predictive coefficient was 48.4 percent. For the communication process of National Broadcasting Services of Thailand, there were various channels, such as e-mail, fax, telephone, and social media search, such as line, Facebook and conversations with expert.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น