กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6383
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศักดิ์ชาย จันทร์เรือง
dc.contributor.authorนาฎยา บริบูรณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:47:36Z
dc.date.available2023-05-12T02:47:36Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6383
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับการคำนวณกำไรสุทธิ ตามเงื่อนไขของมาตรา 65 ทวิ ของกลุ่มธุรกิจผลิตชิ้นงานโลหะกรรมในการกำกับดูแลของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากประชากรจำ นวน 229 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์ระดับปัญหาด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเกี่ยวกับการคำนวณกำไรสุทธิของกลุ่มธุรกิจผลิตชิ้นงานโลหะกรรมในการกำกัยดูแลของสำนักงาน สรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1 ในภาพรวม มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยและเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า เป็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรา 65 ทวิ เรื่องการคิดค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินในทางบัญชีและทางภาษีไม่สอดคล้องกัน ปัญหาการนำรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (8) การจ่ายเงินเดือนของกรรมการและหุ้นส่วนที่มีจำนวนสูง ซึ่งในทางภาษีถือเป็นรายจ่ายเกินสมควร และมาตรา 65 ตรี (4) รายจ่ายค่ารับรอง ซึ่งในทางบัญชีให้ถือเป็นรายจ่ายได้ทั้ง จำนวน แต่ทางภาษี ที่ให้ถือเป็นรายจ่ายในอัตราร้อยละ 0.3 ของรายได้รวมหรือทุนจดทะเบียนของบริษัท และปัญหา รายจ่ายค่าต่อเติม ขยาย ซ่อมแซมอาคารโรงงานในทางบัญชีถือเป็นรายจ่ายแต่ไม่สอดคล้องกับทางภาษีซึ่งเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนมิให้บันทึกเป็นรายจ่ายทั้งจำนวน แต่ให้บันทึกทรัพย์สินแล้วคิดค่าเสื่อมตามระยะเวลาการใช้งานโดยระดับปัญหาดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยทางด้านรายได้วิธีการกรอกแบบ ภ.ง.ด.50 อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ด้านบัญชีที่แตกต่างกันจะมีปัญหาด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเกี่ยวกับการคำนวณกำไรสุทธิของกลุ่มธุรกิจผลิตชิ้นงานโลหะกรรมในการกำกับดูแลของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1 แตกต่างกัน
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบัญชีบริหาร
dc.subjectกำไรของบริษัท
dc.subjectภาษีเงินได้ -- การคำนวณ
dc.titleปัญหาด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลเกี่ยวกับการคำนวณกำไรสุทธิของกลุ่มธุรกิจผลิตชิ้นงานโลหะกรรมในการกำกับดูแลของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1
dc.title.alternativeCorporte income tx problems with respect to the clcultion of txble income of metl prt mnufcturing businesses under the oversight of the revenue office, chonburi 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study has the objectives to study about the problems in calculating taxable income according to Section 65 bis. of metal part manufacturing businesses under the oversight of the Revenue Office, Chon buri 1, and to consolidate expenses which are not expenses according to Section 65 ter. of the Revenue Code. Data were collected from interviewing 229 samples. Statistics used include both descriptive and inferential statistics. This research reveals that the level of problem regarding taxable income calculation of metal part manufacturing businesses is at the low level in overall. When analyzing each area of the problems, we finds the following problems to be moderate; the inconsistency between accounting depreciation expense and tax depreciation expense, and the improper use of too high directors’ and partners’ salaries (Section 65 ter. (8)) and reception expenses (Section 65 ter. (4)) because these expenses cannot be more than 0.3% of total revenues or registered capital of a company. This study also finds that businesses with differences in revenues, PND 50 form filling method, and accounting experience have different level of problem in calculating taxable income.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบัญชีบริหาร
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf10.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น