กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6375
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปากกาหุ้มจักสานไม้ไผ่ของโรงเรียนวังหลังวิทยาคม ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development method of bmboo bsketry pen cover product of wng lng wittyhkom school, thung mh jreon sub-district, wng nm yen district, srkew province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อำนาจ สาลีนุกุล ทักษญา สง่าโยธิน วรารัตน์ เชษฐานันท์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปากกาหุ้มจักสาน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก เครื่องจักสาน?aไทย -- สระแก้ว |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ปากกาหุ้มจักสาน ไม้ไผ่ของโรงเรียนวังหลังวิทยาคม ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ แบรนด์ที่มีผลต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปากกาหุ้มจักสานไม้ไผ่ของโรงเรียนวังหลังวิทยาคม ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปากกาหุ้มจักสานไม้ไผ่ ของโรงเรียนวังหลังวิทยาคม ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ผลการวิจัย พบว่า การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ผู้ผลิตควรที่จะเพิ่มลวดลายให้มากขึ้น เพิ่มสีสันแต่ไม่มากจนเกินไปเพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ของสีที่มาจากไม้ไผ่การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์เมื่อเปรียบเทียบกับ ปากกาทั่วไปผู้ผลิตควรที่จะเพิ่มการเคลือบเงาเพื่อให้ผิวสัมผัสไม่หยาบ การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพและราคาผู้บริโภคควรเพิ่มบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เหมาะสมกับราคาที่ตั้งไว้ ส่วนคุณภาพของผลิตภัณฑ์อยู่แล้วราคาจึงสูงขึ้นตามการกำหนดตำ แหน่งผลิตภัณฑ์ด้านประโยชน์ที่จะได้รับผู้ผลิตควรเน้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปราณีตน่าสะสมมีลวดลายสวยงามมอบให้เป็นของที่ระลึก การกำหนด ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ด้านการนำไปใช้ผู้ผลิตควรเน้นให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันสามารถใช้งานได้จริง การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ด้านประสมประสานผู้ผลิตควรเลือกหลาย ๆ ปัจจัยในการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์และการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมคือ การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์แบบประสมประสาน การมีหลายปัจจัยทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์เพื่อส่งผลต่อการวางแผนการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์การรับรู้แบรนด์ด้านการสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผู้ผลิตควรเน้นสร้างภาพลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์โดยเน้นลวดลายสวยงามปราณีตเน้นลายไทยดังเดิมและเพิ่มเติมลวดลายกราฟฟิกและการใช้วัสดุ ธรรมชาติมาทำงานหัตถกรรมจักสาน การรับรู้แบรนด์ด้านการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผู้ผลิตควรสร้างภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ว่าเป็นผลงานของนักเรียนและโรงเรียนสามารถสร้างรายได้เสริมได้เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้เป็นผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยม การรับรู้แบรนด์ด้านการสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้กับผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนและสร้างรายได้เสริมให้กับนักเรียนรวมถึงสามารถต่อยอดเป็นอาชีพหลักที่มั่นคงได้ต่อไปในอนาคต เกิดการซื้อซ้ำ คุณค่าที่แท้จริงมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเพราะการสร้างคุณค่าที่แท้จริงนั้น ต้องมาจากความรู้สึกนึกคิดในด้านภายในใจ สังคมปัจจุบัน มีส่วนร่วมในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของชุมชนและสนับสนุนการสร้างชื่อเสียงให้กับคนในชุมชนมากขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6375 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น