กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6370
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง | |
dc.contributor.author | อินทิรา ไมตรี | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:44:10Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:44:10Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6370 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการบริหารจัดการงบประมาณ เงินรายได้ของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกระบวนการบริหารจัดการงบประมาณ กลุ่มตัวอย่างกลุ่ม จํานวน 60 คน ประกอบด้วยคณาจารย์ประจําวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจจํานวน 30 คน และพนักงานสายสนับสนุน จํานวน 30 คน เก็บข้อมูลจากการรวบรวมเอกสารการจัดทํางบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้และแบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมการจัดทํางบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาวิเคราะห์แนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาโดยใช้กระบวนการบริหารจัดการงบประมาณ และวิเคราะห์ความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมการจัดทํางบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้โดยใช้สถิติความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าความแปรปรวน การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยผลการวิจัยที่สําคัญสรุปได้ว่า 1. การมีส่วนร่วมในการจัดทํางบประมาณเงินรายได้ของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ ตามกระบวนการบริหารจัดการงบประมาณ พบว่า บุคลากรทั้งสายอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินการจัดทํางบประมาณเงินรายได้ของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ ตามกระบวนการบริหารจัดการ งบประมาณทุกขั้นตอน ได้แก่ 1) การจัดทํางบประมาณ 2) การอนุมัติงบประมาณ 3) การบริหารงบประมาณ และ 4) การติดตามงบประมาณ 2. ความเสี่ยงในการจัดทํางบประมาณเงินรายได้ของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ ตามกระบวนการบริหารจัดการงบประมาณ ได้แก่ 1) ความเสี่ยงการจัดสรรงบประมาณไม่เป็นตามที่วางแผนไว้ 2) ความเสี่ยง ในการไม่สามารถดําเนินการได้ตามแผนปฏิบัติการและแผนยุทธศาสาตร์และ 3) ความเสี่ยงการรายงานผลการดําเนินงานที่ไม่ตรงตามจริง 3. การวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงบประมาณเงินรายได้ของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ พบว่า ค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมด้านการบริหารงบประมาณ ระหว่างอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนไม่แตกต่างกัน 4. การวิเคราะห์ความพึงพอใจการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงบประมาณเงินรายได้ของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจการมีส่วนร่วมด้านการบริหารงบประมาณระหว่างอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนไม่แตกต่างกัน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบัญชีบริหาร | |
dc.subject | งบประมาณ -- การบริหาร | |
dc.subject | งบประมาณ -- การจัดการ | |
dc.title | แนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ของวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา ตามกระบวนการบริหารจัดการงบประมาณ | |
dc.title.alternative | The guideline for dministering expense budget from revenues of the college of public dministrtion, burph university ccording to the budget dministrtion process | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research has the objective to study the budget administration of revenues of the College of Public Administration, Burapha University according to the budget administration process. The samples of 60 people consist of 30 full-time faculty members at the College of Public Administration, and 30 supporting staffs. Data were collected from various documents concerning expense budget, and the questionnaires inquiring about the participation and participation satisfaction in the budget preparation. The analysis uses budget administration process, participation satisfaction results, and statistics of frequencies, percentage, mean, standard deviation, analysis of variance, and hypothesis tests for mean differences. This research concludes that, 1. Both faculty and staff participate in every step of the budget preparation process, namely, 1) budget preparation, 2) budget approval, 3) budget administration, and 4) budget follow-up. 2. The risks in budget administration process include 1) risk of allotted budget not going as planned, 2) risk of not operating and executing the strategy as planned, and 3) risk of reporting operation results incorrectly. 3. Faculty and staffs do not have significantly different level of participation in the budget administration process. 4. Lastly, faculty and staffs do not have significantly different level of participation satisfaction in the budget administration process. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบัญชีบริหาร | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น