กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6361
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ให้ห่างจากโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจในเขตจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of helthcre ptterns of monks to sty wy from dibetes, high blood pressure nd hert disese in chon buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนิสรา แก้วสรรค์
พิจิตรา ทะเลรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้ป่วยเบาหวาน
โรคเบาหวาน
หัวใจ -- โรค
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
ความดันเลือดสูง -- การรักษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องประสิทธิภาพของระบบตรวจปล่อยสินค้าล่วงหน้า (Pre-arrival processing system) ในท่าเรือแหลมฉบัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการของระบบตรวจปล่อยสินค้าล่วงหน้า ศึกษาสภาพปัญหาของระบบตรวจปล่อยสินค้าล่วงหน้า ศึกษาประสิทธิภาพของระบบตรวจปล่อยสินค้าล่วงหน้าเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth interview) ใช้คําถามกึ่งโครงสร้าง เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งคําถามแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ตัวแทนเรือ 2) ผู้ประกอบการท่าเรือ 3) เจ้าหน้าที่ศุลกากร 4) ตัวแทนออกของข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์วิเคราะห์โดยกระบวนการเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ระบบตรวจปล่อยสินค้าล่วงหน้า (Pre-arrival processing systems) ในท่าเรือแหลมฉบัง หรือการดําเนินกระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึงท่าเรือแหลมฉบังไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขอข้อตกลงว่าด้วยการอํานวยความสะดวกทางการค้าขององค์การการค้าโลก ซึ่งต้องการช่วยอํานวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ลดระยะเวลาและขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในบางขั้นตอนของกระบวนการระบบตรวจปล่อยสินค้าล่วงหน้ามีระยะเวลาในการดําเนินการเพิ่มมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่สะดวกต่อการเข้าใช้งาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ครอบคลุมในสถานที่มีการให้บริการ ควรให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแล รับผิดชอบความมีความรู้และความชํานาญในการให้ข้อมูลและคําแนะนําแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทุกองค์กรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เกิดความเข้าใจกระบวนการดําเนินการโครงการระบบตรวจปล่อย ต้องมีแผนฉุกเฉินรองรับในกรณีที่ระบบเกิดปัญหาในระหว่างการให้บริการ หรือเกิดระบบล่ม เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับสินค้าของผู้นําเข้า ควรแก้ไขและพัฒนาระบบด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้สะดวกต่อการใช้งานและเข้าใจได้ง่าย
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6361
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น