กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6358
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนิสรา แก้วสวรรค์ | |
dc.contributor.author | สุดารัตน์ วังทัน | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:44:08Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:44:08Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6358 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาในการเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 3. เพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา (ศูนย์บางแสน) จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์คณบดี จำนวน 5 คน โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่า (Rating scale) ที่ผ่านการหาคุณภาพด้านความตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจงนับความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ทดสอบความแตกต่างของตัวแปร (One-way ANOVA F-test) และทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร (Multiple linear regression) ผลการวิจัย การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา (ศูนย์บางแสน) สรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา (ศูนย์บางแสน) มีการเตรียมความพร้อมเพื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ในภาพรวมและในรายด้านทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย การพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) การพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษา การพัฒนาตนเองด้านกระบวนการความคิดอย่างเป็นระบบ และการเรียนรู้นอกห้องเรียน อยู่ในระดับค่อนข้างมาก 2. นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา (ศูนย์บางแสน) มีการรับรู้ผลกระทบที่เกิดจากการเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ในภาพรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการรับรู้ Thailand 4.0 ด้านผลกระทบต่อตนเอง (การจ้างงาน) ด้านผลกระทบต่อตนเอง (วิธีการทำงานในอนาคตที่เปลี่ยนไป) ด้านผลกระทบต่อตนเอง (การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป) และด้านผลกระทบต่อต่อประเทศ (การแข่งขันระหว่างประเทศ) อยู่ในระดับค่อนข้างมาก 3. ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่า เพศแตกต่างกันส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ด้านการเรียนรู้นอกห้องเรียนแตกต่างกัน อายุแตกต่างกันส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ด้านการพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ด้านการเรียนรู้นอกห้องเรียน และด้านการพัฒนาตนเองด้านกระบวนการความคิดอย่างเป็นระบบ แตกต่างกัน ระดับชั้นปีที่กำลังศึกษาแตกต่างกันส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ด้านการเรียนรู้นอกห้องเรียนแตกต่างกัน คณะที่กำลังศึกษาแตกต่างกัน ส่งผลต่อ การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ด้านการพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ด้านการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษา ด้านกระบวนการความคิดอย่างเป็นระบบ และด้านการเรียนรู้นอกห้องเรียน แตกต่างกัน 4. ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่า การรับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ของนิสิตด้านการพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ร้อยละ 50.2 ด้านการพัฒนาตนเองด้านทักษะภาษา ร้อยละ 39.2 ด้านกระบวนการความคิดอย่างเป็นระบบ ร้อยละ 46.8 ด้านการเรียนรู้นอกห้องเรียน ร้อยละ 44.4 | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ | |
dc.subject | นักศึกษา -- ชลบุรี | |
dc.title | การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา (ศูนย์บางแสน) | |
dc.title.alternative | Preprtion for thilnd 4.0 of students from burph university (bngsen cmpus) | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This study attempts 1) to prepare students from Burapha University to enter Thailand 4.0 classifying by personal factors, 2) to study relationship between perception on the impact from Thailand 4.0 and the preparation to Thailand 4.0 of Burapha University students, 3) to study guideline for preparation to Thailand 4.0 of Burapha University students. The subjects in this study were 400 Burapha University students in Bangsaen campus as well as five deans. The instrument was rating-scale questionnaire passing validity and reliability test. The data were analyze to find frequency, percentage, mean, standard deviation, One-way Anova F-test, and Multiple Linear Regression analysis. The findings on the study of the preparation of students from Burapha University (Bangsaen campus) to enter Thailand 4.0 are as follows: 1. Students from Burapha University (Bangsaen campus) are ready to enter Thailand 4.0 in overall. When considering in each aspect including self-developing in the aspects of information, communication and technology (ICT), language skills, systematically thinking process, out-of-classroom learning were at relatively high level. 2. Students from Burapha University (Bangsaen campus) encountered impacts from Thailand 4.0 in overall and in all aspects at relatively high level. The five factors included perception of Thailand 4.0, self-impact (Employment), self-impact (Changed working method), self-impact (Changed lifestyle), impact to nation (International-level competition). 3. The results from testing the first hypothesis show that different gender had an influence on preparation for Thailand 4.0 in different out-of-classroom learning factor. Different age had an impact on preparation for Thailand 4.0 in different information, communication and technology (ICT), out-of-classroom learning, and systematically thinking process factors. Different year in university had influenced on preparation for Thailand 4.0 in different out-of-classroom learning whereas different faculty had an impact on preparation for Thailand 4.0 in different information, communication and technology (ICT), language skills, out-of classroom learning factors. 4. It was found from testing the second hypothesis that perception on the impact from Thailand 4.0 correlated to the preparation for Thailand in the aspects of communication and technology (ICT) at 50.2 per cent, language skills at 39.2 per cent, systematically thinking process at 46.8 per cent, and out-of-classroom learning at 44.4 percent | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การจัดการสาธารณะ | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น