กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6347
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ
dc.contributor.advisorนภพร ทัศนัยนา
dc.contributor.advisorพูลพงศ์ สุขสว่าง
dc.contributor.authorนันทรัตน์ ศรีสวัสดิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned2023-05-12T02:44:05Z
dc.date.available2023-05-12T02:44:05Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6347
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก สําหรับใช้ในการสอนกีฬาบาสเกตบอล เพื่อพัฒนาแนวทางการสอนกีฬาบาสเกตบอลตามกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก และเพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการพัฒนาการสอนกีฬาบาสเกตบอลตามกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี จํานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 60 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนกีฬาบาสเกตบอลตามกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกและเครื่องมือวัดผลประเมินในการวิจัย โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (Dependent t-test และ Independent t-test) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการ ทักษะกีฬาบาสเกตบอล ด้านทักษะการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลหลังการเรียน สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียน ด้วยแผนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านทักษะการรับ-ส่ง บาสเกตบอล และทักษะการยิงประตูบาสเกตบอลมีคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยรวมด้านสมรรถนะที่สําคัญของผู้เรียน (ทักษะศตวรรษที่ 21) หลังการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยแผนการสอนแบบปกติทุกรายการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งหมด 12 ด้าน ได้แก่ 1) เกิดกระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา 3) การสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดและความร่วมมือ 4) ความรู้และข้อมูลจากสื่อสารสนเทศ 5) ความรู้และข้อมูลที่มีประโยชน์จากสื่อ 6) ความรู้และข้อมูลจากเทคโนโลยี 7) ความสามารถในการปรับตัว 8) ความกล้าแสดงออกและเป็นตัวของตัวเอง 9) ความมีทักษะสังคม 10) ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ 11) ความรับผิดชอบเชื่อถือได้ 12) ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบโดยกลุ่มทดลองมีระดับความคิดเห็นรวมอยู่ในเกณฑ์มากที่สุดแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่อยู่ในเกณฑ์มาก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการเรียนแบบมีส่วนร่วม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.subjectบาสเกตบอล -- การศึกษาและการสอน
dc.titleแนวทางการพัฒนาการสอนกีฬาบาสเกตบอลตามกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก
dc.title.alternativeDeveloping guideline for deploying ctive lerning in Bsketbll course
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine this active learning, to examine factors for basketball teaching, to develop a guideline of basketball teaching methods following active learning, and to examine and result of developing guideline for deploying active learning in basketball. Subjects were purposively randomized from grade 5th students from Saensuk school, Chonburi. Thirty students were for experimental, and other 30students for control groups. Basketball lesson plan following active learning and evaluation form were study tools.The statistical methods for analyzing the data were means, standard deviation and t-tests (Dependent and independent-test). Result Statistical analysis indicated that the 1.experimental group can dribble more than control group significantly (p.05). 2. the experimental group shows higher means on main performance (21stcentury skill) than control group significantly (<.05 in 12 areas, such as 1) creative system, 2) critical thinking and problem-solving, 3) exchange ideas and cooperation, 4) knowledge and information data, 5) knowledge and useful information from the media communication, 6) knowledge and information from technology, 7) adaptation skill, 8) courage and individualization, 9) social skill, 10) creative skill for developing acknowledgement, 11) reliability and responsibility, 12) leadership and responsibility. The experimental group shows highest levels, while the control group shows high level of their evaluation.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น