กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6346
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและสมรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of physicl fitness relted to helth nd performnce of lerners in the 21st century by problem-bsed lerning for elementry students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ
สมศักดิ์ ลิลา
นภพร ทัศนัยนา
กิตติวุฒิ อังคะนาวิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: สมรรถภาพทางกาย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 66 คน ได้กลุ่มตัวอย่างมาด้วยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของสำนักงานกองทุนสนันสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแบบประเมินสมรรถนะที่สำคัญของเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยความถี่ ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสถิติโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ และสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย การระบุปัญหาการแสดงข้อคิดเห็นประเด็นการเรียนรู้และแผนดำเนินงานในการแก้โจทย์ 2. ผลการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในการทดสอบลุก-นั่ง 1 นาที และวิ่งระยะทาง 1,200 เมตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในการทดสอบดัชนีมวลกาย (BMI) ดันพื้น 30 วินาที และนั่งงอตัว ไปข้างหน้า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และผลการเปรียบเทียบสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6346
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น