กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6345
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามแนวเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีต่อทักษะพื้นฐานการเตะในกีฬาเทควันโด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness of the peer tutoring on Tekwondo bsic skills bsed on scffolding pproch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
สุโชค ฉันทะนิ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: เทควันโด -- การสอน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามแนวการเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานของกีฬา เทควันโดและทัศนคติต่อการเรียนเทควันโด และเพื่อทดสอบความแตกต่างของทักษะพื้นฐานกีฬา เทควันโดในกลุ่มนักเรียนเพศชายและเพศหญิงและนักเรียนที่มีความสามารถต่างกัน โดยศึกษาในนักเรียนมัธยมตอนต้น อายุระหว่าง 11-14 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 40 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน โดยการจัดกลุ่มให้คะแนนทักษะเทควันโดขั้นพื้นฐานใกล้เคียงกัน (Match group method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. โปรแกรมการฝึก เทควันโด 8 สัปดาห์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามการเสริมต่อการเรียนรู้ 2. แบบวัด ทัศนคติต่อการเรียนการสอนกีฬาเทควันโดแบบเพื่อนช่วยเพื่อนและ 3. ทดสอบวัดทักษะกีฬา เทควันโดขั้นพื้นฐานของกาญจนา สุทธิแพทย์ (2554) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างโดยการหาค่า t-test (Independent simple test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้สถิติ ANOVA with repeated measures ที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติที่มีต่อการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามการเสริมต่อการเรียนรู้ เป็นไปในทางบวก นักเรียนเห็นด้วยในการนำการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามการเสริมต่อการเรียนรู้ที่เข้ามาใช้ในการสอนเทควันโด การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนตามการเสริมต่อการเรียนรู้ มีผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานของกีฬาเทควันโดของนักเรียนสูงกว่ากลุ่มการสอนแบบปกติ นักเรียนชายและหญิงที่ได้รับการสอนเทควันโด มีการเปลี่ยนแปลงไปในระดับที่สูงขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 และ8 แต่มีความสามารถไม่แตกต่างกัน ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกัน มีการเปลี่ยนแปลงไปในระดับที่สูงขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 และ8 แต่ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเรียนจนถึงสัปดาห์ที่ 8
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6345
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น