กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6344
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการทำการตลาดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | How to win Thi electric cr’s mrket : cse study of Bngkok province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุธาศิณี สุศิวะ วิชชุลดา น้อยน้ำคำ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกจิ สำหรับผู้บริหาร รถยนต์ไฟฟ้า -- การตลาด เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบสถานการณ์ปัจจุบันของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) ในเขตกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยใช้ SWOT analysis จากนั้น ประเมินทางเลือกโดยใช้ TOWS matrix เพื่อพิจารณาแนวทางในการทำการตลาดสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขับ เคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลส่วนบุคคลส่วนใหญ่พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 31-40 ปีทั้งนี้เพราะ เพศหญิงเริ่มขบัรถด้วยตนเองมากขึ้น เนื่องจากรถยนต์ทำให้มีความสะดวกสบายในการเดินทางและให้ความปลอดภัย และช่วงอายุ 31-40 ปีเป็นช่วงที่มีวุฒิภาวะสูงพอที่จะสามารถตัดสินใจในการซื้อรถยนต์ประกอบกับรายได้เฉลี่ยที่สูงพอที่จะสามารถซ้อรถได้ด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ว่าผู้บริโภคในที่ซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 21-30 ปี โดยมีลักษณะการใช้งานรถยนต์เพื่อใช้งานในกรุงเทพมหานคร เป็นส่วนใหญ่และใช้เดินทางต่างจังหวัดบ้างเป็นบางคร้ัง 2. ข้อมูลพฤติกรรมการใช้รถยนต์ได้แก่ โอกาสในการใช้สถานะในการใช้อัตราการใช้และความพร้อมในการซื้อ พบว่า อัตราการใช้รถยนต์ของผู้บริโภคต่อวันส่วนใหญ่อยู่ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100กิโลเมตรและโอกาสในการเปลี่ยนรถยนต์ของผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 7-10 ปีซึ่งการตัดสินใจเปลี่ยนรถยนต์ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือ สมรรถนะที่ลดลง มีค่าบำรุงรักษาที่แพงขึ้นและมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ จากอินเทอร์เน็ต ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ว่า การตัดสินใจที่จะซื้อหรือเปลี่ยนรถยนต์ใหม่จะต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระและสถานะในการใช้จ่ายอีกทั้งผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ใช้รถยนต์ในการเดินทางไปทำงาน และใช้เดินทางต่างจังหวัดบ้างเป็นบางครั้ง 3. ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการยอมรับนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ ขั้นรู้จัก ขั้นสนใจ ขั้นประเมินผล ขั้นทดลองและขั้นยอมรับ พบว่า ผู้บริโภครู้ว่าข้อจำกัดของแบตเตอรี่เป็นจุดอ่อนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าโดยผู้บริโภคมีความสนใจในการแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้ากับผู้ที่เคยทดลองใช้มาก่อน และจะใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพราะมีนวัตกรรมที่แตกต่างจากรถยนต์ทั่วไป ซึ่งจะทดลองสมรรถนะของรถยนต์ไฟฟ้าก่อนการซื้อและจะแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและปัญหากับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเหมือนกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ว่า การมีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้น ย่อมทำให้ผู้บริโภคมีการรับรู้ว่า นวัตกรรมนั้น มีหน้าที่และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง โดยผู้บริโภคที่มีความสนใจ จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เคยใช้และประเมินนวัตกรรมนั้น ๆ ก่อนมีการยอมรับนวัตกรรมนั้น จนเกิดเป็นพฤติกรรม 4. การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมปัจจัยภายนอก, ปัจจัยภายใน และประเมินทางเลือก เพื่อพิจารณาแนวทางในการทำ การตลาดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า พบว่า สถานการณ์ทางการตลาดสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่สามารถเป็นผู้นำทางการตลาดได้เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับประเทศไทย มีราคาสูงและสถานีชาร์จไฟฟ้ายังมีจำกัด อีกทั้งผู้บริโภคยังไม่มั่นใจในสมรรถนะเมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ดังนั้น การเพิ่มศักยภาพในการทำการตลาดนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรจะสร้างการรับรู้ความเชื่อมั่นเพื่อกระตุ้น พฤติกรรมผู้บริโภคและสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6344 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น