กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6343
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพดล เดชประเสริฐ | |
dc.contributor.author | สุพัตรา งันเกาะ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:44:04Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:44:04Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6343 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลในการวางแผนการผลิตสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนผลิตสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนต่ำสุดของปริมาณการจัดเก็บกับพื้นที่ที่มีจำกัด 3)เพื่อลดระยะเวลาของการวางแผนการผลิตตั้งแต่ต้นจนกระทั่ง ส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า (Lead time production) สำหรับโรงงานผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มในเขตนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานซึ่งประกอบด้วยงานวิจัยเชิงคุณภาพ อันได้แก่ การวิจัยเอกสารและเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างสินค้า 4 ชนิด และการประชุมกลุ่ม (Focus group) ได้แก่ ตัวแทนฝ่ายผลิต ตัวแทนฝ่ายคลังสินค้า ตัวแทนฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ และตัวแทนฝ่ายวางแผนการผลิต เพื่อนำผลสรุปไปหาแบบจำลองสำหรับการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและในขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัตากรนั้น ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยและนำเสนอในการประชุมกลุ่ม ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์จากตัวแทนฝ่ายผลิต ตัวแทนฝ่ายคลังสินค้า ตัวแทนฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ และตัวแทนฝ่ายวางแผนการผลิต และนำผลการสัมภาษณ์ไปสรุปผลเพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการต่อไปอีกเพื่อให้ได้ผลและข้อสรุปที่ดีที่สุด และในขั้นตอนสุดท้ายผู้วิจัยได้ทำการสรุปผลการวิจัยทุกขั้นตอนเพื่อนำเสนอต่อคณะผู้บริหารอันได้แก่ ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการแผนก ห่วงโซ่อุปทาน ผู้จัดการแผนกการเงิน ผู้จัดการแผนกผลิต ผู้จัดการแผนกควบคุมคุณภาพ และผู้จัดการแผนกการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบการวางแผนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพนั้น ต้องมีขนาดการผลิตที่เหมาะสมที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิต ต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังอยู่ในระดับที่ต่ำที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพของเครื่องจักรและประสิทธิผลรวมของเครื่องจักรสูงที่สุด และของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตต่ำที่สุด ซึ่งหมายความวการออกแบบการผลิตด้วยขนาดประหยัดที่สุด หมายถึง ส่งผลต่อประสิทธิภาพ โดยรวมดังที่กล่าวมาดีที่สุดเป็นภาพรวม ไม่ใช่ดีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง 2)การออกแบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพทำให้สามารถควบคุมต้นทุนสินค้าคงคลงัและลดระยะเวลาในการส่งมอบสินค้าได้ และทำให้ทราบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งต่อประสิทธิภาพของการวางแผนการผลิตได้แก่ ความพร้อมของวัตถุดิบ และเครื่องจักรเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่โรงงานต้องให้ความสำคัญ 3) จากผลการออกแบบการวางแผนการผลิตดังกล่าว ส่งผลให้เกิดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลังลดลง | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกจิ สำหรับผู้บริหาร | |
dc.subject | บรรจุภัณฑ์ -- การออกแบบ | |
dc.subject | บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม -- การออกแบบ | |
dc.title | การออกแบบการวางแผนการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มในเขตจังหวัดระยอง | |
dc.title.alternative | Design of production plnning for effectiveness : study with beverge pckging mnufcturing | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research attempts 1) to study factors contributing to effective planning of work in process inventory; 2) to find a guideline for planning of work in process inventory with lowest cost in limited inventory area; 3) to reduce time to make a production plan starting from the initial stage to delivery process (Lead time production) for a beverage packaging manufacturer in Eastern Seaboard Industrial Estate in Rayong province. This study applied mixed methods of qualitative study including literature review, collecting four types of samplings, and focus group with representatives from production, inventory, quality check, and production planning in order to find model for operational research which is quantitative research study and the process. It came to conclusion and presentation that the data from interviews with representatives from production, inventory, quality check, and production planning in focus group can be used to improve further operational research. To reach effectiveness and best conclusion, in the last stage, conclusion in each process were proposed to administrators including factory manager, supply chain manager, financial manager, production manager, quality control manager, and system development manager continuously. The findings reveal that 1) to reach effectiveness, in production planning, there should be the right production that constantly impacted the cost of production, the cost of inventory as well as the efficiency of machine and the total effectiveness of machine at the highest level, with the lowest degree of the waste from production. The most economical production design mean the most effective design in all factors. 2) efficient production design could control the cost of inventory and reduce time of delivery. The basic factors contributing to effectiveness of production planning included the readiness of raw material and engine which is the crucial factor in factory. 3) The results from mentioned production planning can reduce the cost of inventory | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกจิ สำหรับผู้บริหาร | |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 5.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น