กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6332
ชื่อเรื่อง: | ประเภทของสวัสดิการมีอิทธิพลต่อปัจจัยของการเกิดความผูกพันของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Categories of fringe benefits affecting employee engagement factors to the organization : a case study of ABC company |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นนท์ สหายา วรวิทย์ ดอนดาไพร มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สวัสดิการลูกจ้าง สวัสดิการในโรงงาน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทสวัสดิการมีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท ABC จํากัด ด้วยการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานของบริษัท ABC จํากัด จํานวน 346 คน ใช้ SPSS ในการวิเคราะห์ โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ (Multiple linear regression analysis) จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.5 ช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 56.6 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ ปวช. ร้อยละ 32.9 ซึ่งเท่ากับระดับ การศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 32.9 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 56.4 ตําแหน่งงานระดับปฏิบัติการ ร้อยละ 44.2 และมีอายุงานมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 43.6 แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทสวัสดิการที่ เป็นตัวเงินอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.18 ประเภทสวัสดิการที่ไม่เป็นตัวเงิน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.84 และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันของพนักงาน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.93 จากการทดสอบสมมติฐาน อธิบายได้ว่าประเภทของสวัสดิการมีอิทธิพลต่อปัจจัยของการเกิดความผูกพันของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท ABC จํากัด ทั้ง 21 ด้าน มีประเภทของสวัสดิการ 9 ด้าน ได้แก่ 1) เงินโบนัสตามผลประกอบการ 2) กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ 3) ค่าใช้จ่าย สําหรับที่อยู่อาศัย 4) ค่าใช้จ่ายการเดินทาง 5) ค่าอาหาร 6) เงินกู้เพื่อการเคหะสงเคราะห์ 7) เงินรางวัลตอบแทนช่วงอายุงาน 8) เงินช่วยเหลือค่ามรณกรรมพนักงาน และ 9) ตรวจสุขภาพประจําปีที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยของการเกิดความผูกพันของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท ABC จํากัด อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรมีการเรียงลําดับประเภทสวัสดิการตามความต้องการและความพึงพอใจของพนักงาน ควรเพิ่มสวัสดิการค่าใช้จ่ายในชีวิตประจําวัน โดยจัดให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล การจ่ายเงินโบนัสตามผลประกอบการและเงินรางวัลตอบแทนช่วงอายุงานควร แบ่งตามภาระหน้าที่การปฏิบัติงาน ความขยันอดทนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รวมถึงมี ระบบให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสตามผลประกอบการและเงินรางวัลตอบแทนช่วงอายุงานได้ และควรเพิ่มสวัสดิการสําหรับบิดามารดาซึ่งอาจเป็นสวัสดิการรูปแบบใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของพนักงานในมิติครอบครัว |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6332 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น