กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6320
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รชฏ จันทร์น้อย | |
dc.contributor.author | เมธิรา แซ่เฮ้ง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:42:28Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:42:28Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6320 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงินของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตบางแสน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงิน และทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงินดังกล่าวรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน จำนวน 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ Pearson correlation ผลการศึกษาพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงินของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า นิสิตกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติมากที่สุด คือ ประเด็นการใช้จ่ายเงินไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช้ จ่ายเงินไปในทางที่ผิด เช่น ซื้อยาเสพติด เล่นการพนัน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านเจตคติต่อพฤติกรรม และปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงนั้น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงินของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเชิงบวกระดับน้อยมากที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเจตคติที่ดีซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมการออมผ่านสถาบันครอบครัว หรือส่งเสริมให้มีการปลูกฝังให้รักการออมโดยคนในครอบครัวเนื่องจากบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มการออมของนิสิต นอกจากนี้ ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการให้จ่ายแก่นิสิตเกี่ยวกับสัดส่วนการใช้จ่ายเงินและการเก็บออมที่เหมาะสม | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | นักศึกษา -- ค่าใช้จ่าย | |
dc.subject | ค่าใช้จ่าย | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป | |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงินของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | |
dc.title.alternative | Fctors relting to sving nd spending behviors of freshmen t burph university, bngsen cmpus ccording to sufficiency economy philosophy | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to study savings and spending behaviors and to study factors relating to the savings and spending behaviors of freshmen at Burapha University, Bangsaen campus, according to the sufficiency economy philosophy. The tool used for data collection was questionnaires. The sample group was 385 freshmen at Burapha University, Bangsaen campus. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested using Pearson correlation coefficient. From the results of the study, it was found that the overall opinion on applying the sufficiency economy philosophy in their life was at a high level. The aspect that was the most practiced was appropriately spending money and not inappropriately spending money (such as buying narcotics, gambling). From the hypothesis testing, it was found that attitudes and subjective norm factors positively impacted the saving and spending behavior of Burapha University, Bangsaen campus, freshmen according to the sufficiency economy philosophy with the level of statistical significance set at 0.01 and 0.05, respectively. Therefore, students should be encouraged to have knowledge on the sufficiency economy philosophy. This will result in good attitudes and impact the saving and spending behaviors. Additionally, related agencies should promote savings through family institutions or encourage students to cultivate a like for savings by family members. This is because family members influence the students’ savings. Additionally, the students should be provided with knowledge about how to appropriately spend and save their money | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารทั่วไป | |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น