กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6306
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorกิจฐเชต ไกรวาส
dc.contributor.authorอัตติยา ไชยฤทธิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-05-12T02:42:22Z
dc.date.available2023-05-12T02:42:22Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6306
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วม ระดับการมีส่วนร่วม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วม ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหารวมถึงรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนาการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ในจังหวัดจันทบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ประชากรได้แก่ เครือข่ายที่ปรึกษาในจังหวัดจันทบุรี และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ตัวแทนเครือข่ายที่ปรึกษาในจังหวัดจันทบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณา และสถิติอนุมานการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การอรรถาธิบาย ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่ปรึกษาส่วนใหญ่เข้าไปมีส่วนร่วมครบทุกกระบวนการยกเว้น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม ปัจจัยที่สามารถทำนายการมีส่วนร่วม ได้แก่ การสนับสนุนจากภาครัฐ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ปัญหาและอุปสรรค ประกอบด้วย 1) ปัญหาและอุปสรรคด้านภาครัฐ ได้แก่ การขาดการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องข้อจำกัด ด้านกฎหมาย ทัศนคติของผู้บริหาร และขาดการประชาสัมพันธ์ และ 2) ปัญหาอุปสรรคด้านเครือข่ายที่ปรึกษาได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ และสัดส่วนในการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ตัวแทนขาดความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วม และปัญหาการสะท้อนข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่แนวทางการแก้ไข ประกอบด้วย 1) การสร้างความรู้ความเข้าใจ 2) สร้างทัศนคติผู้บริหาร 3) สร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม 4) สร้างความเชื่อมโยงการทํางาน 5) สร้างกลไกการสะท้อนปัญหา และ 6) ปรับการดำเนินภารกิจของเครือข่ายรูปแบบการพัฒนาการจะต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการพัฒนาก่อนการเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมไปจนถึงกระบวนการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่ปรึกษาให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการบริหารแบบมีส่วนร่วม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
dc.subjectการมีส่วนร่วม
dc.titleการพัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนาการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการในจังหวัดจันทบุรี
dc.title.alternativeThe development of ssocited consultnts in spect of the networking prticiption to strengthen the integrtion of provincil dministrtion in chnthburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to examine a process and a level of participation, factors affecting participation, problems, obstacles, and guidelines for solving problems. Also, this study aimed at investigating a participation development model of consultant networks for developing the integrated provincial administration in Chanthaburi Province. A mixed-method approach was used in this study. The population participating in this study was a consultant network in Chanthaburi Province. The key informants were the representatives from thisconsultant network. Also, both the descriptive and inferential statistical tests were used to analyze the collected data. In addition, the qualitatively collected data were explained in a descriptive manner. The results of this study revealed that the level of participation of the consultant networkswas moderate. In general, it was shown that the consultant networks took part in every process, except those of the private business sectors and civil society. Also, it was found that the factors that were predictive of participation included government support, information receiving, problems and obstacles. Specifically, the problems and obstacles relating to public sectors included legal restrictions, administrators’ attitude, information publication, and a lack of continuous and serious monitoring and evaluation. In addition, the problems and obstacles relating to the consultant networksincluded the level of knowledge and understanding as well as the proportion of participation of civil society. It was found that a lack of continuous participation of the representatives from the consultant networks and feedback given to problems occurring in the area were also problematic. Considering the guidelines to solve the problems, there should be a building of knowledge, understanding, and administrators’ attitudes. Also, business sectors and civil society should be strengthened. Work connections should be built and mechanism reflecting problems should be introduced. In addition, there should be a modification of the mission of the consultant networks. The development model should be started from a development process prior to the process of participation, and then entering a participation process. This will strengthen the participation and sustainability of the consultant networks.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น