กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/630
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเชื้อราปนเปื้อนสายพันธุ์ที่สร้างสารอะฟลาทอกซินในผลิตภัณฑ์ปลาทะเลตากแห้งและการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Aspergillus flavus ที่ปนเปื้อนโดยใช้สารกันเสียบางชนิด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Studies on Aflatoxin-producing mold flora in dried fishes and inhibition of contaminated Aspergillus flavus by food preservatives |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อนุเทพ ภาสุระ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปลาทะเลตากแห้ง เชื้อรา อะฟลาท็อกซิน สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2540 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อราต่างๆ ในผลิตภัณฑ์ปลาทะเลตากแห้ง 6 ชนิดที่วางจำหน่ายในตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี ได้แก่ ปลาแก้ว ปลาลิ้นหมา ปลาไส้ตันดำ ปลาไส้ตันขาว ปลาข้าวสาร และปลาวงรวม 60 ตัวอย่าง พบว่า ปลาทะเลตากแห้งทุกชนิดมีการปนเปื้อนของเชื้อรามากถึง 11 ชนิด และปลาวงมีการปนเปื้อนเชื้อราสูงที่สุด คือ 4.5 × 〖10〗^3 – 7 × 〖10〗^3 CFU/กรัม โดยที่เชื้อราที่จำแนกได้ส่วนใหญ่เป็น Aspergillus group และตัวอย่างปลาทะเลตากแห้งทุกชนิดมีการปนเปื้อนของเชื้อรา A.flavus พบมากที่สุดในปลาวง(25.73%) ส่วนเชื้อรา Penicillium spp. ตรวจไม่พบในปลาแก้ว นอกจากนี้ยังพบว่าในการตรวจสอบการสร้างสารอะฟลาทอกซินของ A.flavus จำนวน 22 สายพันธุ์ที่แยกจากตัวอย่างปลาตากแห้ง พบว่า 7 สายพันธุ์สามารถสร้างสารอะฟลาทอกซินได้ โดยที่ 5 สายพันธุ์ (71.12%) แยกได้จากปลาวง ส่วน Penicillium spp. จำนวน 17 สายพันธุ์ พบว่า สร้างสารอะฟลาทอกซินได้ 6 สายพันธุ์ โดยที่ 4 สายพันธุ์ (66.66%) แยกได้จากปลาวง ส่วนการตรวจสอบประสิทธิภาพของสารกันเสีย 4 ชนิด ได้แก่ กรดแอสคอร์บิก กรดเบนโซอิก โซเดียมไบคาร์บอเนตและกรดซอร์บิก พบว่า กรดเบนโซอิกที่มีความเข้มข้น 750 ppm. สามารถยับยั้งการงอกของสปอร์ A. flavus ได้ดีที่สุด และเมื่อนำกรดเบนโซอิกความเข้มข้น 750 ppm. มาใช้ในการยับยั้งเชื้อรา A.flavus ที่ถูกทำให้ปนเปื้อนในปลาข้างเหลืองตากแห้ง พบว่า มีปริมาณเชื้อราปนเปื้อนน้อยที่สุด คือ 2 × 〖10〗^3 CFU/กรัม เมื่อนำปลาข้างเหลืองแช่ในของเหลวผสมของน้ำกลั่น สารละลายสปอร์ และสารกันเสีย นานอย่างน้อย 30 นาที และการทดสอบการสร้างสารอะฟลาทอกซิน พบว่า การแช่ปลาในของเหลวนาน 10 นาที ขึ้นไป จะสามารถยับยั้งการเจริญของ A.flavus ได้ทั้งหมด และเมื่อเก็บในถุงพลาสติกที่ปิดมิดชิดนาน 1 เดือน จะพบปริมาณเชื้อราปนเปื้อนลดน้อยลงทุกการทดลอง และจากการทดสอบการสร้างสารอะฟลาทอกซิน จะไม่พบเชื้อราสายพันธุ์ที่สร้างสารอะฟลาทอกซินในทุกการทดลองที่เติมสารกันเสีย The contamination of fungi in 6 dried fishes, namely Cynoglossus elongatuss, Otorithoidies bruneu, Stolephorus heterobus, S. baganensis, S. commersonii and Dassybatus sp. collected from Nongmon Market, Chonburi was studied. There were 11 fungal species in all samples which the highest concentration was found in Dassybatus sp. at 4.5 × 〖10〗^3 – 7 × 〖10〗^3 CFU/g. Most of the fungal contaminants were classified as Aspergillus group in which A.flavus was found in all samples , especially in Dassybatus sp. (25.73%). Penicillium spp. were found in all samples excepy Otorithoidies bruneu. From the total 22 A.flavus strains test, 7 strains were found to produce aflatoxin most of which (5 trains, 71.42%) were isolated from Dassybatus sp.. For Penicillium spp., 6 of 17 strains produced aflatoxin most of which (4 strains, 66.66%) were also isolated this fish species. The effect of food additives, namely ascorbic acid, benzoic acid, sodium bicar bonate and sorbic acid for inhibition of A.flavus spore germination was investigated. It was found that benzonic acid at 750 ppm. was the most effective agent. In addition, at this concentration, benzonic acid was the most effective agent in reduction of inoculated A.flavus spores when treated at least 10 minutes. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/630 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น