กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6299
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
dc.contributor.advisorอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
dc.contributor.authorธิดารัตน์ นวลเดช
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-05-12T02:42:20Z
dc.date.available2023-05-12T02:42:20Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6299
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขโดยรวมของผู้สูงอายุ เรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองหนองปรือและผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลเมืองหนองปรือ เพื่อเปรียบเทียบระดับความสุขของผู้สูงอายุที่เรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุกับผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมือง หนองปรือ อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เรียนในโรงเรียนในโรงเรียน ผู้สูงอายุ 70 คน ผู้สูงอายุในชุมชน 70 คน รวม 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยใช้ Oxford happiness questionnaire สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Independent sample t-test ทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยกำหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสุขโดยรวมของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.62 ส่วนผู้สูงอายุในชุมชนมีระดับความสุขโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 อย่างไรก็ตาม เมื่อทดสอบสมมติฐาน การวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่เรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุมีระดับความสุขแตกต่าง จากผู้สูงอายุในชุมชน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรมีการศึกษาวิจัยตัวแปรอื่น ๆ เกี่ยวกับความสุขของผู้สูงอายุ เพื่อความหลากหลายในการวัดความสุขให้ควบคุมทุกบริบท ควรมีการปรับข้อคําถาม ให้สั้นและกระชับลง เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามใช้เวลาในการอ่านไม่นานมาก
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความสุข
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.subjectความสุขในผู้สูงอายุ
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.titleการเปรียบเทียบความสุขของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุและในชุมชนเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeA study to compre lvel of hppiness mong the elderly studying in schools for the elderly nd those living in nong prue municiplity, Amphoe Bnglmung Chonburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to examine and compare a level of happiness among the elderly studying in schools for the elderly and those living in Nong Prue Municipality, Amphoe Banglamung, Chon Buri Province. The population of this study was the elderly living in Nong Prue Municipality, Amphoe Banglamung, Chon Buri Province. One hundred and forty subjects participating in this study comprised 70 aging people who were studying in schools for the elderly and 70 aging people who were living the Nong Prue community. The instrument used to collect the data was the Oxford happiness questionnaire. The statistical tests used to analyze the collected data included frequency, percentage, means, and standard deviation. To test the research hypotheses, the test of independent sample t-test with a preset of a significant level at .05 was administered. The results of the study revealed that while the mean score for the level of happiness as demonstrated by the elderly studying in schools for the elderly was at 4.62, the mean score for happiness among those living in the community was at 4.36. Based on the results from the test of hypotheses, there was a statistically significant difference in the level of happiness among the elderly studying in schools for the elderly and those living in Nong Prue Municipality at a significant level of .05. Based on these results, it is suggested that there should be a future study on different variables relating the level of happiness among the elderly in various contexts. Finally, the questions asked in the questionnaire related to the level of happiness should be shortened so that it would not take much time for the elderly to complete them
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารทั่วไป
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf869.69 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น