กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/628
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปิยนุช คนฉลาด | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:52:58Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:52:58Z | |
dc.date.issued | 2544 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/628 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาในด้านบุคลิกภาพของอาจารย์และหลักสูตรการสอนตามทัศนะของนิสิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตปริญญาตรี และนิสิตปริญญาโทปัจจุบันและนิสิตเก่า จำนวน 158 คน เครื่องมือที่รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ และคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าร้อยละ ผลการวิจัยปรากฏผลดังต่อไปนี้ 1.นิสิตระดับปริญญาตรีส่วนมากเห็นว่าบุคลิกภาพของอาจารย์ในภาควิชาอยู่ในระดับมากในเรื่องการแต่งกายสุภาพเหมาะสมกับกาละเทศะ ใช้วาจาสุภาพ มีอัธยาศัยไมตรี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และรักษาชื่อเสียงเกียรติยศในวิชาชีพ ส่วนนิสิตระดับปริญญาโทส่วนมากเห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง เรื่องที่นิสิตปริญญาตรีเห็นว่าภาพลักษณ์ด้านบุคลิกภาพของอาจารย์อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ อารมณ์มั่นคง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความยุติธรรม มีมนุษยสัมพันธ์ ให้โอกาสแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์และมีความจริงใจในการให้คำปรึกษา ส่วนนิสิตปริญญาโทเห็นว่าอยู่ในระดับน้อย 2.นิสิตระดับปริญญาตรีส่วนมากเห็นว่า หลักสูตรการสอนของภาควิชาอยู่ในระดับมากในเรื่องการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและยึดมั่นในการปกครองแบบประชาธิปไตย นิสิตปริญญาโทเห็นว่าอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง แต่เห็นว่าเนื้อหาที่สอนทันสมัยเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในระดับมาก สำหรับเรื่องความมุ่งมั่นในการพัฒนาภาควิชา การเขียนเอกสาร ตำรา การวิจัย การเป็นวิทยากรภายนอก นิสิตปริญญาตรีเห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง แต่นิสิตปริญญาโทเห็นว่าอยู่ในระดับน้อย ทั้งนิสิตปริญญาตรีและปริญญาโทเห็นว่าภาพลักษณ์อยู่ในระดับน้อยในเรื่อง การจัดวิชาเลือกให้เรียนตามความต้องการและการใช้เทคนิคการสอนแบบบรรยาย 3.เปรียบเทียบทัศนะของนิสิตปริญญาตรี และปริญญาโททั้งนิสิตปัจจุบันและนิสิตเก่าชายและหญิงที่มีต่อบุคลิกภาพของอาจารย์และหลักสูตรการสอน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นทัศนะของนิสิตปริญญาตรี นิสิตเก่าระหว่างชายและหญิงต่อบุคลิกภาพของอาจารย์และหลักสูตรการสอน แตกต่างกัน (p<.05) 4.ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของภาควิชาด้านบุคลิกภาพของอาจารย์ตามทัศนะของนิสิตทุกระดับทั้งเพศชายและเพศหญิงเห็นว่า อาจารย์ควรรับฟังความคิดเห็นของนิสิต ใช้วาจาสุภาพและเหมาะสม ไม่ควรมีอคติและปราศจากความยุติธรรม ด้านหลักสูตรการสอนเห็นว่าควรเปิดวิชาเลือกให้มากขึ้น ไม่บังคับให้เรียนวิชาเลือกโดยจัดตารางสอนแบบเบ็ดเสร็จ ควรสอนให้นิสิตเขียนแผนการสอนและนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง การสอนควรยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยสอดคล้องกับการนำไปใช้ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ครู - - การสำรวจ | th_TH |
dc.subject | นักศึกษา - - ทัศนคติ | th_TH |
dc.subject | สาขาการศึกษา | th_TH |
dc.title | ภาพลักษณ์ของภาควิชาหลักสูตรและการสอน ตามทัศนะของนิสิตปัจจุบันและนิสิตเก่า | th_TH |
dc.title.alternative | A study of image of the curriculum and instruction department as perceived by students | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2544 | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to determine the image of curriculum and instruction department, Faculty of Education, Burapha University in the aspects of instructor’s personality and curriculum and instruction. The sample consisted of 158 students selected from full time and part-time undergraduate and graduate students. The instrument used for collecting the data was the rating scale and open-ended questionnaires. Mean, standard deviation, t-test, and percentage were statistical devices for analyzing the data. The findings were as follows: 1.Most undergraduate students perceived that their instructors’ personalities were rated at the high level in the aspects of their dressing appropriated to time and place, politeness and considerations, responsibilities, keeping professional prestige. But the graduate students perceived that all of these aspects were rated at the moderated level. Personalities as perceived by undergraduate students at the less level were the temperateness, creative thinking, fairness, human relations, given opportunity to students to do something, keeping student’s personal affairs, and sincerity in counseling. 2. Most undergraduate students perceived on curriculum and instruction at the high level were participation in teaching and learning activities and faithful in democratic practice while the graduate students perceived them at the less to moderate levels. Only one aspect that perceived by graduate students at the high level was the updated subject contents appropriated to present situation. The attention to develop the department, writing textbook, conducting research and being resource person were rated at the moderate level by undergraduate students while the graduate students’ perceptions were at the less level in offering elective courses according to students’ needs and lecturing method. 3. The comparison of the students’ perceptions toward their instructors’ personalities and curriculum and instruction between male and female students were found indifferent except the former male and female undergraduate students’ perceptions were different (p<0.5) 4. The recommendations for the improvement of the department’s image in the aspect of the instructors’ personalities as perceived by both male and female undergraduate and graduate students were to respect the students’ opinions, politeness and appropriateness of language used and nonbias and fairness. The curriculum and instruction should be improved by offering more elective courses for students, student centered teaching, and updating curriculum for applications. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
title.pdf | 191.27 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter1.pdf | 97.26 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter2.pdf | 356.29 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter3.pdf | 55.5 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter4.pdf | 490.28 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter5.pdf | 194.85 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
bibliography.pdf | 60.35 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
appendix.pdf | 85.92 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น