กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6285
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค
dc.contributor.authorปัณณภัสร์ ตันใจ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-05-12T02:42:18Z
dc.date.available2023-05-12T02:42:18Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6285
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของการกระทําผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังทัณฑสถานหญิงชลบุรี และเพื่อศึกษาแนวทางการสนับสนุนการป้องกันการกลับมากระทําผิดซ้ำในคดียาเสพติดที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องขังทัณฑสถานหญิงชลบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักโทษเด็ดขาดหญิงที่กระทําความผิด พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ซึ่งกระทําผิดซ้ำตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป และถูกคุมขังอยูในทัณฑสถานหญิงชลบุรี จํานวน 189 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าฐานนิยม และสถิติ Chi-square ผลการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของผู้ต้องขังด้านต่าง ๆ พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมทางครอบครัวส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวพอมีพอกินไม่เดือดร้อน มีสัมพันธ์ภายในครอบครัวรักใคร่กันดี ด้านสภาพที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในย่านที่อยู่อาศัย โดยรอบชุมชนไม่มีแหล่งอบายมุข เพื่อนหรือเพื่อนบ้านมีความรู้สึกดีใจเมื่อได้รับอิสรภาพ หลังจากการได้รับการพ้นโทษครั้งล่าสุด สามารถหางานสุจริตทําได้ โดยเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานให้ความเป็นมิตร ช่วยเหลือ และสามารถทํางาน ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ด้านสภาพแวดล้อมในทัณฑสถานส่วนใหญ่มีเพื่อนสนิทในการต้องโทษครั้งก่อน เพื่อนสนิทไม่เคยแนะนําเทคนิคหรือวิธีการทําผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษในระหว่างการต้องโทษ เจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือและแนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในระหว่างการต้องโทษอยู่ในเรือนจํา และให้คําปรึกษาในเรื่องการฝึกอบรมและฝึกอาชีพมากที่สุด สาเหตุที่ส่งผลต่อการกระทําผิดครั้งที่กำลังรับโทษอยู่ในครั้งนี้ พบว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเป็นสาเหตุที่ผู้ต้องขังหญิงมีความคิดเห็นว่าเป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อการกระทําผิดซ้ำมากที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ต้องขังหญิงมีความคิดเห็นว่าทุกสาเหตุมีผลต่อการกระทําความผิดซ้ำอยู่ในระดับปานกลาง แนวทางการสนับสนุนจากทัณฑสถานหญิงชลบุรีเพื่อป้องกันการกลับมากระทําผิดซ้ำในคดียาเสพติดขณะต้องโทษ ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาในขณะที่ต้องโทษ การฝึกอบรมหลักสูตร วิชาชีพ และการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษส่วนแนวทางการสนับสนุนหลังพ้นโทษ ได้แก่ การทําความเข้าใจและให้คําแนะนําแก่ครอบครัวผู้ต้องขังในเรื่องการให้อภัยและให้โอกาสแก่ผู้ต้องขัง หลังพ้นโทษ การประสานองค์กรทางสังคมในการให้ความช่วยเหลือ ให้คําปรึกษาในการดําเนินชีวิตภายหลังพ้นโทษ และการประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดหางานให้กับผู้ต้องขังหลังการพ้นโทษ
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectยาเสพติด
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.subjectนักโทษหญิง
dc.subjectการกระทำผิดซ้ำ
dc.titleการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังทัณฑสถานหญิงชลบุรี
dc.title.alternativeThe recidivism relted to nrcotic drug cses mong femle inmtes incrcerted t chon buri provincil femle prison
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was twofold. First, it aimed at examining the causes of recidivism related to narcotic drug cases among female inmates incarcerated at Chon Buri Provincial Female Prison. Also, this study intended to investigate preventing guidelines for recidivism among these female inmates that were in line with their needs. The population of this study included 189 female convicts with the recidivism of narcotic drug more than twice based on the narcotic act and were incarcerated at Chon Buri Provincial Female Prison. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The statistical tests used to analyze the collected data included frequency, percentage, means, and Chi-Square test. The results regarding the general information of the subjects showed that, in terms of family background, the majority of them did not have difficulties in earning their living. The relationship between them and other family members was considered at a good level. Most of them had lived in a community area without criminal-oriented activities. Friends or neighbors usually felt glad upon their release from prisons. After getting their freedom, these ex-convicts could earn their living by working in different workplaces where their bosses and co-workers offered assistance to them. Usually, these ex-convicts had close friends with whom they met in the prisons. It was shown that no peer influence related to narcotic drug was found during the period when these convicts served their time in the prisons. The prison wardens usually gave advice on how to behave and offered career-oriented training during their incarceration with the highest frequency. In addition, it was found that the cause of current convicts among these female in mates was due to family financial situation which was considered by the subjects a major cause of their incarceration. Also, they viewed that every cause affected their recidivism at a moderate level Regarding the supporting guidelines from Chon Buri Provincial Female Prison in order to prevent the recidivism among these convicts in relation to narcotic drugs, educational opportunities should be provided for them during their incarceration. Also, career-oriented training programs should be organized for them. These female inmates should be informed of the disadvantages of narcotic drugs and advices should be given to them after their release from the prisons. Specifically, their family members should be educated and offered suggestions on how to forgive and give opportunities to these female inmates after being released from the prisons. Finally, Chon Buri Provincial Female Prison should collaboratively work with other social organizations to give advice to these female convicts as well as cooperating with both public and private sectors in terms of job provision for the ex-convicts upon their release from the prison.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารทั่วไป
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น