กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6279
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorรชฏ จันทร์น้อย
dc.contributor.authorศุภวัฒน์ เสาเงิน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-05-12T02:42:17Z
dc.date.available2023-05-12T02:42:17Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6279
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองรีหมู่ที่ 7 ตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของความสำเร็จของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองรีโดยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารของสำนักงานพัฒนาชุมชน สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้นำชุมบ้านหนองรี จำนวน 3 คน คือ ผู้ใหญ่บ้านประธานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านและผู้นำสัมมาชีพชุมชน 2) เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 3 คน คือ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน อำเภอเมืองชลบุรีและเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) กับกลุ่มชาวบ้านที่เป็นครัวเรือนตัวอย่างในการดำเนินชีวติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณนา ในประเด็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเเร็จ ซึ่งจากผลการศึกษา พบว่า ความสำเร็จของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองรีเกิดจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน ผู้นำบ้านหนองรีความรู้และทักษะความสามารถในด้านการเกษตร และสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ได้มีการทำงานด้วยบริหารงานที่ดีทำงานเป็นระบบในรูปแบบของการทำงานเป็นทีม และสามารถประสานงานการทำงานได้ดีสร้างความร่วมมือได้ 2) ปัจจัยด้านคนในชุมชน ชาวบ้านบ้านหนองรีมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้ความร่วมมือกับทุกกิจกรรมที่ภาครัฐและกลุ่มผู้นำชุมชนนำมา ปฏิบัติในหมู่บ้านและยัดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน 3) ปัจจัยด้านภาคีเครือข่าย การพัฒนา โดยภาครัฐสนับสนุนการทำกิจกรรมและให้ความรู้ในหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนร่วมกับกิจกรรมและเป็นพี่เลี้ยงให้กับหมู่บ้าน โดยให้คำปรึกษาแนะนำและให้กำลังใจกับผู้นำ และชาวบ้าน 4) ปัจจัยด้านการมีแหล่งเรียนรู้มีแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและจุดให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้เฉพาะทางให้กับชาวบ้านและหมู่บ้านอื่น เป็นจุดสำหรับศึกษาดูงาน โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ให้มีการบทบาทและศักยภาพของผู้นำชุมชนให้มีความรู้และทักษะในด้านต่าง ๆ รวมถึงจัดรูปแบบการบริหารงานของผู้นำให้มีความเป็นระบบที่ชัดเจน 2) ให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้านเพิ่มเติม และจัดองค์ความรู้ภูมิปัญญาพร้อมทั้งถอดบทเรียนนำภูมิปัญญามาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และพัฒนาสู่แหล่งเรียนรู้ 3) ควรมีนโยบายการรักษาประสิทธิภาพของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความต่อเนื่องและเป็นหมู่บ้านที่ขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียง
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียง -- ชลบุรี
dc.titleปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองรี ตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeSuccess fctors contributing to sucessful villge for sufficiency economy of bn nong ri, villge number 7 in nong ri sub-district, mphoe mueng, chon buri province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine key success factors contributing to a successful village for Sufficiency Economy of Baan Nong Ri, village number 7, Nong Ri Sub District, Amphoe Mueang, Chon Buri Province. The data were collected from researching documents compiled by Office of Community Development, creating a relationship with the community, and conducting an in-depth interview. The key informants participating in this study comprised three community leaders, namely a village headman, a head of village health care volunteers, and a community leader for honest livelihood. Also, the key informants were three government officers working for the Office of Community Development, who were requested to attend a focus group discussion and 15 villagers who led their lives based on Sufficiency Economy Philosophy. The instrument used for data collection was an interview form. The collected data were analyzed by using a content analysis technique and a descriptive analysis of critical success factors. The results of the study revealed that the success of Ban Nong Ri as a village for Sufficiency Economy was resulted from four factors. The first factor was the leadership of the village leaders who were knowledgeable in agriculture and the ability to impart knowledge to the community with effective administration, good and systematic teamwork and cooperation. The second factor contributing to the success of Ban Nong Ri was the people in the community who took part in developing their community by participating in every activity organized by both government sectors and community leaders based on Sufficiency Economy Philosophy. Also, the success of Baan Nong Ri as a village for Sufficiency Economy was resulted from the community networking for development which was supported by the government sectors who organized activities and were mentors for the community by giving guidance and morale support to community leaders and residents. The last success factors was the availability of community fund, the presence of a center for Sufficiency Economy and a place for imparting local wisdom to people in the community and others living in different communities. Based on the results, it was suggested that community leaders should be equipped with knowledge and various skills as well as administrative ability with a clear system. Also, action plans should be made for researching additional local wisdom. In addition, knowledge of local wisdom should be systematically managed and disseminated to the people in the community who can adapt it for their everyday life and help to create a learning center. Finally, a policy should be made to maintain the effectiveness of a village for Sufficiency Economy in which activities are conducted on a regular basis
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf917.03 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น