กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6274
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Success fctors of bn omkew villge fund, mb pong sub-district, chon buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กฤษฎา นันทเพ็ชร จุฑามาศ นิรมลรัตน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | กองทุนหมู่บ้าน -- การบริหาร -- ไทย -- ชลบุรี กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง -- ไทย -- ชลบุรี กองทุนหมู่บ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกต่อปัจจัยความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านต่อปัจจัย ความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามตัวแปรด้านเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) คือร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือการทดสอบค่า (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรีโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารกองทุนหมู่บ้าน รองลงมาคือ ด้านความสามารถ ในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและอันดับสุดท้าย คือ ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ตามลำดับ ผลการเปรียบความคิดเห็นต่อปัจจัยความสำเร็จ พบว่า สมาชิกที่มีเพศ อายุสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาอาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรีไม่แตกต่างกัน จากผลการศึกษากองทุนหมู่บ้านอ้อมแก้ว ควรมีการพัฒนาการสร้างผู้นำรุ่นใหม่เป็นกลุ่มเป็นทีมมาเป็นผู้บริหารเพื่อคนเหล่านี้จะได้มาช่วยงาน และรับผดิชอบงาน เมื่อรุ่นปัจจุบันหมดไป กองทุนควรส่งเสริมให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด การวางแผนการดำเนินงานในกองทุนมากขึ้น |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6274 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น