กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6259
ชื่อเรื่อง: | คุณภาพชีวิตคนพิการและผู้ดูแลคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Qulity of life mong disbled people nd cregivers in Bng nng sub-district dministrtive orgniztion, mphoe Pnthong, Chon buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก นรากร บุญตัน มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คุณภาพชีวิต คนพิการ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง “คุณภาพชีวิตคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคนพิการ จำนวน 84 คน และผู้ดูแลคนพิการ จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยใช้แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREE-THAI) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า คนพิการเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงอายุมากกว่า 70 ปี การศึกษาประถมศึกษา ไม่ได้ประกอบอาชีพมากที่สุด ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เกิน 3,000 บาท และมากกว่าครึ่งมีสถานภาพโสด ร้อยละ 84.52 มีคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย รองลงมาคือ พิการทางการมองเห็น และการได้ยิน โดยรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับกลาง ๆ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมต่ำกว่าด้านอื่น ๆ สำหรับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลคนพิการ เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ 51-60 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด ส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001 บาทขึ้นไป มากกว่าครึ่งมีสถานภาพสมรสอยู่กินฉันสามีภรรยา และดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายมากที่สุด รองลงมาคือ พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม และพิการทางสติปัญญา โดยรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่กลาง ๆ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านร่างกายสูงกว่าด้านอื่น และมีคุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในระดับต่ำกว่าด้านอื่น ๆ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย องค์การบริหารส่วนตำบลบางนางในฐานะหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับงานคนพิการในระดับตำบลจึงควรจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการ ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ และสมาชิกในชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมที่อยู่ในระดับกลาง ๆ ให้มีระดับคุณภาพชีวิตที่ดี |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6259 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น