กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6241
ชื่อเรื่อง: การอบแห้งขมิ้นชันด้วยเครื่องอบแห้งด้วยลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Turmeric drying using combined hot ir nd infrred rdition
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ อึ้งกิมบ้วน
ณัฐพล กระจ่าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาฟิสิกส์
ขมิ้นชัน -- การอบแห้ง
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้งและปัจจัยของสภาวะที่มีผลต่อการอบแห้งขมิ้นชัน เพื่อหาแบบจำลองการอบแห้งชั้นบางที่เหมาะสมและค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นประสิทธิผลศึกษาค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะที่ใช้ในการอบแห้งและสีของขมิ้นชัน ภายหลังการอบแห้ง โดยทำการทดลองอบแห้งภายใต้สภาวะการอบแห้งที่แตกต่างกัน 4 เงื่อนไข ได้แก่ การอบแห้งลมร้อน การอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดโดยไม่ควบคุมอุณหภูมิอากาศอบแห้งและควบคุมอุณหภูมิอากาศอบแห้งและการอบแห้งด้วยลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรด โดยที่ในทุกการทดลองที่อบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดจะใช้กำลังอินฟราเรดเท่ากับ 600 800 และ 1,000 W อุณหภูมิอากาศอบแห้งเท่ากับ 40 50 และ 600 C สำหรับกรณีที่ใช้ลมร้อนจะใช้ความเร็วของอากาศเท่ากับ 0.5 m/sโดยที่ความชื้นเริ่มต้นของขมิ้นชันอยู่ในช่วง 420-640 %(d.b.) และอบแห้งจนเหลือความชื้นสุดท้ายอยู่ในช่วง 5-10 %(d.b.) ผลการศึกษาจลนพลศาสตร์การอบแห้งของขมิ้นชัน พบว่า อัตราการอบแห้งขึ้นอย่กับอุณหภูมิและกำลังของอินฟราเรด โดยที่การอบแห้งที่อุณหภูมิและกำลังของอินฟราเรดสูงขึ้นส่งผล ทำให้อัตราการอบแห้งมีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้น ประสิทธิผล พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นประสิทธิผลขึ้นอยู่กับอุณหภูมิสำหรับการอบแห้งขมิ้นชันด้วยลมร้อน และอัตราส่วนของน้ำหนักของตัวอย่างต่อกำลังของอินฟราเรดสำหรับการอบแห้งขมิ้นชันด้วยรังสีอินฟราเรดตามรูปแบบสมการของ Arrheniusโดยที่ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นประสิทธิผลมีค่าสูงขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิและกำลังของอินฟราเรด ผลการวิเคราะห์แบบจำลองการอบแห้งชั้นบางขมิ้นชัน สรุปได้ว่า แบบจำลองของ Two Term สามารถทำนายผลจลนพลศาสตร์การอบแห้งของขมิ้นชันด้วยลมร้อนได้ดีที่สุด ในส่วนของการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดและการอบแห้งด้วยลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรด พบว่า แบบจำลองของ Midilli et al. สามารถใช้อธิบายผลการทดลองได้เป็นอย่างดี ในส่วนของการวิเคราะห์ค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะที่ใช้ในการอบแห้งขมิ้นชัน พบว่า ค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะมีค่าลดลงเมื่อเพิ่มกำลังอินฟราเรด แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิลมร้อนขณะที่การอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดมีค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะการอบแห้งอื่น ๆ สำหรับการวิเคราะห์ค่าสีของขมิ้นชันภายหลังการอบแห้ง พบว่า สภาวะการอบแห้งด้วยลมร้อนและลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรดให้ค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีเหลือง (b*) และค่าความเป็นสีแดง (a*) ใกล้เคียงกันและไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) สำหรับการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรดการเพิ่มอุณหภูมิอบแห้งทำให้ค่าความสว่าง (L*)และค่าความเป็นสีแดง (a*) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในขณะที่ค่าความเป็นสีเหลือง (b*) มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างไรก็ดีสภาวะการอบแห้งขมิ้นชันด้วยลมร้อนและลมร้อนร่วมกับรังสีอินฟราเรดมีค่าการ เปลี่ยนแปลงของสีโดยรวม (ΔE) น้อยกว่าสภาวะการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6241
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น