กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6231
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตพื้นที่เมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Sving behviour mong people living in Ptty city, Chon Buri province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กฤษฎา นันทเพ็ชร นเรศ หนองใหญ่ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน การเงินส่วนบุคคล การประหยัดและการออม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมของประชากรเขตพื้นที่เมืองพัทยาจังหวัดชลบุรีและเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการออมของประชากรเขตพื้นที่เมืองพัทยาจำแนกตามเพศอายุระดับการศึกษา สถานภาพ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่เมืองพัทยาจำนวน 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ทำการวิจัยโดยใช้เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม โดยใช้การวัดข้อมูลด้วยสถิติในการวิจัย คือ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ % SD และค่า t-test, F-test โดยใช้สถิติทดสอบที่ระดับนัยสําคัญที่ 0.05 กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท วัตถุประสงค์การจ่ายเงินโดยเฉลี่ยแต่ละเดือน เพื่อซื้อสินค้า/ บริการที่จำเป็นสำหรับชีวิตเพื่อให้เงินกับบุพการีหรือครอบครัวภาระรับผิดชอบ โดยเฉลี่ยแต่ละเดือนโดยเฉลี่ยแต่ละเดือน ส่วนใหญ่เพื่อน ญาติ พี่น้อง หนี้สินเฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ลักษณะทรัพย์สินที่ออม ออมในรูปทรัพย์สินเงินฝาก หุ้น พันธบัตร บาท ออมในรูปทรัพย์สินทองคํา อัญมณี รูปทรัพย์สินทางการเงินที่ออมในระบบฝากกับธนาคารประเภทฝากออมทรัพย์เก็บเงินสดไว้ในมือและทำประกันชีวิตโดยมีการจ่ายเงิน เพื่อสะสมระยะยาว รูปทรัพย์สินทางการเงินที่ออมนอกระบบ เล่นแชร์และออกเงินกู้วัตถุประสงค์ของการออม เพื่อซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน และเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามชราเกษียณอายุตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ระดับการออมต่อพฤติกรรมการออม พบว่า พฤติกรรมการออมในภาพรวม อยู่ในระดับการออมพอใช้ ( =1.14) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า (ส่วนใหญ่ออมเงินโดยการนำเงินไปฝากธนาคารอยู่ในระดับการออมเกือบทุกเดือน ( = 2.15) รองลงมาได้แก่ ออมโดยเก็บเงินสดไว้ในมือที่ทำงาน อยู่ในระดับการออมเกือบทุกเดือน ( = 2.10) ออมในรูปสินทรัพย์ถาวรอยู่ในระดับการออมหลายเดือนคร้ัง ( = 1.28) เงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์อยู่ในระดับการออมหลายเดือนคร้ัง ( = 1.12) ตามลําดับ สําหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีพฤติกรรมการออมไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีอายุระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และหนี้สินเฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการออมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6231 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น