กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/623
ชื่อเรื่อง: ผลของอุณหภูมิต่อการเจริญของแมลงวันหัวเขียวที่มีบทบาทสำคัญทางนิติเวชในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of temperature on development of forensically important blow files (diptera : calliphoridae) in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กันทิมา สุวรรณพงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
แมลงวันหัวเขียว - - การเจริญเติบโต
แมลงวันหัวเขียว - - การใช้ประโยชน์ทางนิติเวช
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แมลงวันหัวเขียว Chrysomya megacephala และ chysomya rufifacies เป็นแมลงที่มีความสำคัญต่องานด้าน นิติกีฎวิทยา และเป็นแมลงวันหัวเขียวที่พบมากในประเทศไทย การศึกษาอัตราการเจริญที่ต่างๆ สามารถนำไปใช้ประมาณแมลงวันหัวเขียวที่พบมากในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโต แมลงวันหัวเขียว Chrysomya megacephala และ chysomya rufifacies ที่อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม และที่อุณหภูมิคงที่27 และ 30 องศาเซลเซียส พบว่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม ระหว่าง 26-38° c (เฉลี่ย31° c)และที่อุณหภูมิระหว่าง 23-34° c (เฉลี่ย29° c) ระยะเวลาการเจริญและขนาดความกว้างของความยาวของตัวหนอนระยะที่ 1-3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ขนาดความยาวและขนาดความกว้างของไข่ C.megacephala ของทั้ง 2 ช่วงอุณหภูมิไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวนวันสะสม (ADD) ของช่วงอุณหภูมิ 26-38° c และ 23-34° c เท่ากับ 139.9 และ149.5 ตามลำดับ จำนวนชั่วโมงสะสม (ADH) เป็น 3332.5 และ 3588.5 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอัตราการเจริญของระยะตัวหนอน Chrysomya megacephala ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ที่อุณหภูมิคงที่ 27 องศาเซลเซียส C.megacephala และ C. rufifacies ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะไข่จนถึงระยะเต็มวัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( F=31.28, df=1, 20, P<0.0001) ส่วนขนาดตัวหนอนระยะที่1จนถึงตัวหนอนระยะที่3ของแมลงวันหัวเขียวแต่ละชนิด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=1628.8, df=2,6, P<0.0001: F=18.04, df=2,6, P=0.0029)แต่ขนาดความกว้างความยาวของไข่และน้ำหนักดักแด้อายุ 1วัน 2วัน และ3วัน ไม่แตกต่างกัน ค่าความร้อนสะสมวัน (ADD) ตั้งแต่ระยะไข่จนถึงฟักออกเป็นตัวเต็มวัยของ C.megacephala และ C. rufifacies เท่ากับ 136.83 และ 153.23 ตามลำดับ ค่าความร้อนสะสมชั่วโมง (ADH) เท่ากับ 3283.89 และ 3677.44 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ( F=31.28, df=1, 20, P<0.0001) ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสพบว่า C.megacephala และ C. rufifacies ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะไข่จนถึงระยะเต็มวัยที่อุณหภูมิ 30 ± 2 องศาเซลเซียสแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( F=824.30, df=9, 20, P<0.0001) ส่วนขนาดตัวหนอนระยะที่1 ถึงตัวหนอนระยะที่3ของแมลงวันหัวเขียวแต่ละชนิด แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ ( F=454.61, df=2, 8, P<0.0001) แต่ขนาดความกว้างความยาวของไข่และน้ำหนักดักแด้อายุ1วัน2วันและ3วัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( F=246.21, df=2, 8, P<0.0001) ค่าความร้อนสะสมวัน(ADD) ตั้งแต่ระยะไข่จนกระทั่งฟักออกตัวเต็มวัยของ C.megacephala และ C. rufifacies เท่ากับ 140.13 และ 3363.20 ตามลำดับค่าความร้อนสะสมชั่วโมง (ADH) เท่ากับ 154.87 และ 3716.80 ตามลำดับซึ่งมีความเจริญสูงกว่า C. rufifacies ที่อุณหภูมิ 27 และ 30 องศาเซลเซียส Abstract Blowflies, specifically Chrysomya megacephala and chysomya rufifacies are the most common blow fly species of Thailand and are important for investigations. The study of mortem interval (PMT). The comparison of developmental rates between C.megacephala and C.rufifacies were studied at environmental and temperature of 27 and 30° c. The finding showed that the larval sizes and the developmental; times between the two ambient temperatures, 26-38° c (average31° c) 23-34° c (average 29° c) were statistically significant. Additionally, Accumulated degree day (ADD) of temperatures range 26-38° c and 23-34° c were 138.9 and 149.5, respectively, subsequently accumulated degree hours (ADH) were 3332.5 and 3588.5 , respectively. The results suggest that the developmental rate of the larvae C.megacephala is temperatures dependent. The developmental rate of Chrysomya megacephala 27° c were statistically significant from those of C.rufifacies ( F=31.28, df=1, 20, P<0.0001) . the sizes of fiest instars and thrd instars of these two specieswere statistically significant (F=1628.8, df=2,6, P<0.0001: F=18.04, df=2,6, P=0.0029). However, the weight of one, two and three days old pupae of these two species were not different. The calculated accumulated degree day (ADD) of egg to eclosion of C.megacephala and C.rufifacies were 136.83 and 153.23 respectively. In addition,the calculated accumulated degree hours (ADH) were 3283.89 and 3677.44 for C.megacephala and C.rufifacies ,respectively which were statistically significant ( F=31.28, df=1, 20, P<0.0001). These result indicate that the growth of C.megacephala is greater than that of C.rufifacies. The developmental rate of C.megacephala and C.rufifacies from egg to adult at 30° c were statistically different ( F=824.30, df=9, 20, P<0.0001) . the size of larvae in each stage (first, second and third instars larvae ) of each species was also significantly different while sizes and weight of pupae at day 1,2 and3 of both species were not different. The ADD of C.megacephala and C.rufifacies from egg to eclosion were 140.13 and 33632, respectively and 154.87 and 3716.80 for ADH of C.megacephala and C.rufifacies, respecitively. The ADD and ADH were both significantly different for each species. These finding indicate that C.megacephala has a higher developmental rate than that of C.rufifacies at 30° c
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/623
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น