กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6224
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorรชก จันทร์น้อย
dc.contributor.authorเอมกาญจน์ กลิ่นมาลา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-05-12T02:37:26Z
dc.date.available2023-05-12T02:37:26Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6224
dc.descriptionงานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัย เรื่อง ผลการดำเนินงานของโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการดำเนินโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 คน โดยดำเนินการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured interview) โดยมีข้อคำถามเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการฯ ตามแนวคิดและทฤษฎีของสตัลเฟิลบีม (CIPPIEST Model) จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ และแนวทางการพัฒนาโครงการ โดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และอาศัยการพรรณนาข้อมูลจากคำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์ การศึกษา แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ได้ประสบความสำเร็จตามแนวคิดและทฤษฎีของสตัสเฟิลบีม (CIPPIEST) คือ ด้านผลกระทบ (I = Impact) ซึ่งมีผลกระทบทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ โดยคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทางร่างกายดี คือ ไม่มีอาการเจ็บป่วยโรคต่าง ๆ เพิ่มสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ ไม่มีการพลัดตกหกล้ม และมีคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหากำจัดความทุกข์ออกจากจิตใจได้อย่างเหมาะสมและไม่พบผลกระทบทางด้านลบต่อผู้สูงอายุและครอบครัว ด้านประสิทธิผล (E = Effectiveness) พบว่า โครงการฯ นี้ สามรถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นอย่างดี ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการฯ นี้ อยู่ในระดับดีถึงดีมาก สามารถทำให้ผู้สูงอายุและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตนเองเป็นอย่างดี รวมทั้งผู้สูงอายุและครอบครัวให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการเป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ในโครงการ ฯ ที่ ประกอบด้วย ขั้นตอนการวางแผน ลงพื้นที่ การสำรวจ และการประเมินผล ส่วนของครอบครัวส่วนใหญ่จะมีส่วนร่วมในส่วนของการสำรวจเท่านั้น คือ การให้ข้อมูลประวัติของครัวเรือน โรคประจำตัวผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อม และความต้องการในการช่วยเหลือ ด้านความยั่งยืน (S = Sustainable) พบว่า การขยายจำนวนจิตอาสาของกลุ่มวัยผู้สูงอายุที่แข็งแรง (อผส.) จะมีเพิ่มขึ้นจำนวนไม่ต่ำกว่า 100 คน เพื่อตอบรับกับสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน แต่ในส่วนของจิตอาสาเยาวชนยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเป็นวันที่ต้องศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ทำให้ไม่สามารถเป็นจิตอาสาได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ฯ จึงมีแนวโน้มที่จะปรับกลุ่มอายุใหม่หรือยกเลิกกลุ่มจิตอาสาเยาวชน ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (T = Transportation) พบว่า หลังจากดำเนินโครงการจนประสบความสำเร็จแล้วนั้นจะมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุดำเนินการถ่ายทอดส่งต่อความรู้สู่ชุมชน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุบางส่วนที่รับรู้ถึงความสำเร็จของโครงการ ส่วนการดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความสำเร็จกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงจะเป็นผู้ที่ถ่ายทอดส่งต่อเอง แต่พบว่า ยังไม่มีการถ่ายทอดส่งต่อความรู้เกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ ฯ ไปสู่ครอบครัว และแนวทางการพัฒนาโครงการจากการศึกษาพบว่า โครงการฯ นี้ ไม่ประสบความสำเร็จในบางส่วนของความยั่งยืน คือ การขยายจิตอาสาเยาวชน ดังนั้น ควรมีการปรับเปลี่ยนกลุ่มจิตอาสาจากกลุ่มจิตอาสาเยาวชนเป็นกลุ่มจิตอาสาอื่น ๆ และยังพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการนี้มีประวัติข้อเขาวปวดหรือเสื่อมเป็นจำนวนมาก จึงควรมีการจัดเครือข่ายความร่วมมือกับโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ทางด้านสุขภาพ เพื่อลงพื้นที่ไปให้คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเป็นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีต่อไป และในส่วนของแบบสอบถามที่ใช้ประเมินผลหลังจากดำเนินโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงนั้น ควรมีการแบ่งกลุ่มหรือจำแนกกลุ่มในการเก็บแบบสอบถามของกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วย กับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ เพื่อการเข้าไปแก้ไขปัญหาในส่วนต่าง ๆ ของโครงการฯ ได้อย่างครอบคลุมต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน)
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
dc.titleผลการดำเนินงานของโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternativeThe performnce of the cre-for-the-elderly-t-home volunteer project : Plutlung subdistrict dminitrtive orgniztion Stthip, Chonburi
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research on the Performance of The Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteer Project of Plutaluang Sub-District Administrative Organization, Sattahip, Chonburi, are: 1) to study the performance of The Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteer Project, and; 2) to study the development guidelines of the Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteer Project. The key informants were 10 administrators, experts, Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteers, and elderly joining The Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteer Project. Data were collected through in-depth interviews with key informants in semi-structured interview format. The interview questions were related with project assessment according to the CIPPIEST model and consisted of 4 dimensions including impact, efficiency, sustainability, and transportation. The guidelines of project development were obtained by conducting content analysis, relying on data description obtained from the interviews with the key informants, and studying related concepts, theories, and research. The results showed that the performance of The Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteer Project was successful according to the CIPPIEST model, i.e., for Impact (I), there were some positive impacts on quality of life for the elderly both mentally and physically. The physical quality of life of the elderly included no additional sickness, being able to sleep and take sufficient rest, no falling, and having a better quality of life. Moreover, it also helped to solve the problem of mental suffering witout having any negative impacts on the elderly and their families. For Effectiveness (E0), it was found that The Care-for the-Elderly-at-Home Volunteer Project was able to achieve the project’s objectives properly. Aatisfaction towards this project was at a good to very good level because it enabled the elderly and Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteers to have knowledge about self-care. In addition, the elderly and their families also provided good cooperation in project operations. Most of the elderly participated in various project processes including planning, field visiting, surveys, and assessment. Most of their families participated in the survey only, i.e., providing some information on the household background, underlying diseases of the elderly, environmental survey, and demands on support. For sustainability (S), it was found that expansion of quantity of Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteers should increase by not less than 100 people in order to respond to the current aging society. However, Juvenile volunteers were not successful because they were mostly university students and therefore unable to become volunteers the objectives of The Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteer Project. Accordingly, the age group of volunteers may tend to be adjusted or juvenile volunteers may be cancelled. For Transportation (T), it was found that some elderly people passed on knowledge to their communities after finishing the project and there were some elderly who perceived the success of the project. To distribute knowledge and pass on the success to various organizations, Plutaluang Sub-District Administrative Organization should disseminate knowledge to such organizations. However, it was found that there was no success of The Care-For-The-Elderly-At-Home Volunteer Project that was passed on to the elderly’s families. For the guidelines of project development, it was found that the there was a part of Sustainability of The Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteer Project that was not successful, i.e., expansion the number of volunteers. As a result, there should be adjustment from juvenile volunteers to other groups of volunteers. In addition, it was found that most of the elderly participating in the project had a significant record of ankle joint pain or degeneration. Consequently, a cooperation network with some hospitals and health officers should be provided in order to visit the sites for providing some suggestions and knowledge on ankle joint pain to promote their health. Questionnaire used for evaluating the performance of the project of Plutaluang Sub-District Administrative Organization for the elderly should be classified for collection and there should be a Care-for-the-Elderly-at-Home Volunteers center for solving problems in various fields of The Cae-for-the-Elderly-at-Home Volunteer Project more extensively.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารทรัพยากรมนุษย์
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น