กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6222
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา บุญยัง | |
dc.contributor.author | วรวัตร ศรีเครือแก้ว | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T02:37:25Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T02:37:25Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6222 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (รป.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุงาน รายได้ต่อเดือน ประเภทตำแหน่ง สถานภาพและประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรกับความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent samples t-test, F-test เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของ LSD และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์การของผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การแบบเครือญาติ วัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัว วัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสำเร็จ และวัฒนธรรมองค์การแบบราชการ อยู่ในระดับมาก ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นพบว่า ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานภาพสมรส สังกัดประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แตกต่างกันมีความผุกพันต่อองค์กรการแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุงาน รายได้ เฉลี่ยต่อเดือน และประเภทตำแหน่งต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า รูปแบบวัฒนธรรมองค์การ ทั้ง 4 รูปแบบมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีขนาดความสัมพันธ์ระดับสูง แปรผันในทิศทางเดียวกัน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ความผูกพันต่อองค์การ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | |
dc.subject | การปกครองส่วนท้องถิ่น | |
dc.title | วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ | |
dc.title.alternative | Corporte cultures nd orgniztionl commitment mong employees working for locl dministrtive orgniztions, mphoe smutprkn, smutprkn province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to examine a level of opinions towards corporate cultures and organizational commitment among employees working for local administrative organizations and to compare the level of organizational commitment as classified by gender, age, educational level, work length, amount of monthly income, type of position, status, and type of local administrative organizations. Also, this study attempted to determine the relationship between the corporate culture types and organizational commitment. The subjects participating in this study were 280 employees working for local administrative organizations, located in Amphoe Samutprakan, Samutprakan Province. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The descriptive statistical tests used to analyze the collected data included frequency, percentage, means, and standard deviation. The inferential statistical tests, including independent sample t-test, and F-test were also administered. To test the differences between pairs, the Least Significant Difference test (LSD) was used. The test of Pearson Product Moment Coefficient was employed to determine the relationship. The results of the study revealed that the corporate cultures that were practiced at a high level in local administrative organizations in Amphoe Samutprakan, Samutprakan Province included family-like cultures, adhocracy-oriente cultures, market-oriented cultures, and hierarchy-oriented cultures. Also, the subjects demonstrated a high level of organizational commitment. In addition, based on the results from the comparison, it was shown that there were statistically significant differences in the level of organizational commitment among the subjects who had different marital status, and type of local administrative organizations for which they work at a significant level of .05. In addition, no statistically significant differences were found in the level of organizational commitment among the subjects who had different gender, age, educational level, work length, amount of monthly income, and type of position. Finally, a positive and high relationship was found between 4 types of corporate cultures and the subjects’ organizational commitment at a significant level of .01. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน | |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น