กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6215
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภัทราวดี มากมี
dc.contributor.advisorปิยะทิพย์ ประดุจพรม
dc.contributor.authorวิระญา กิจรัตน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T02:37:22Z
dc.date.available2023-05-12T02:37:22Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6215
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะชีวิตของนักศึกษาอาชีวศึกษาในระดับนักศึกษาและระดับวิทยาลัย 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้น และ 3) พัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาในระดับนักศึกษา และระดับวิทยาลัย โดยใช้การวิจัยพหุระดับแบบผสานวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาอาชีวศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 540 คน ได้มาจากวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน และวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ โดยใช้โปรแกรม Mplus 7.31 และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสรุปเป็นเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1. โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา ทั้งในระดับนักศึกษาและระดับวิทยาลัย ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และ 2) ทักษะทางสังคม และอารมณ์ประกอบด้วย ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง ทักษะการเห็น อกเห็นใจผู้อื่น ทักษะการจัดการกับอารมณ์ และทักษะการจัดการกับความเครียด 2. โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดีค่า 2  เท่ากับ 55.336 ค่า df เท่ากับ 46 ค่า p เท่ากับ .163 ดัชนี TLI เท่ากับ .995 ดัชนี CFI เท่ากับ .998 ค่า SRMRW เท่ากับ .011 ค่า SRMRB เท่ากับ .031ค่า RMSEA เท่ากับ .019 และ 2  /df เท่ากับ 1.203 3. เกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 2 ด้าน องค์ประกอบย่อย 10 ด้าน 49 ตัวบ่งชี้และ 60 เกณฑ์การประเมิน สามารถจำแนกระดับการประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาออกเป็น 5 ระดับตั้งแต่ระดับที่ 1 (ต้องปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (ดีเด่น)
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโมเดลพหุระดับ (สถิติ)
dc.subjectทักษะชีวิต -- การศึกษาและการสอน (อาชีวศึกษา) -- การประเมิน
dc.subjectนักเรียนอาชีวศึกษา -- การดำเนินชีวิต
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.titleการพัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา : การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับแบบผสานวิธี
dc.title.alternativeDevelopment of life skills ssessment criteri for voctionl students : multilevel model using mixed methods
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were: 1) to develop a multilevel confirmatory factor analysis of vocational students life skills; 2) to validate the development model; and 3) to develop life skills assessment criteria for vocational students by using a multilevel mixed method design. A five-level rating scale questionnaire was used for collecting data. The samples consisted of 540 vocational students in academic year 2016 derived from multistage random sampling. Data were analyzed by multilevel confirmatory factor analysis using Mplus 7.31. Qualitative data were collected by in-depth interviews. The results were as follows: 1. The multilevel confirmatory factor analysis of life skills for vocational students consisted of two components 1) Critical cognitive skills: decision making, problem solving, creative thinking, critical thinking and effective communication. 2) Social emotion skills: interpersonal relationship, self-awareness, empathy, coping with emotions and coping with stress. 2. The developed model was consistent with empirical data. (Goodness of fit statistics were: chi-square test ( 2  ) = 55.336, df = 46, p = .163, TLI = .995, CFI = .998, SRMRW = .011, SRMRB = .031, RMSEA = .019 and relative chi-square ( 2  /df) =1.203) 3. The developed life skills assessment criteria for vocational students was found to be comprised of two main components, ten subcomponents, forty-nine indicators and sixty assessment criteria. Life skills assessment was categorized into five levels from 1 (strongly needing improvement) to 5 (excellent)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น